วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

อดีตบีอาร์เอ็น" เล่าปัญหาในขบวนการป่วนใต้ กับทางสองสายเมื่อเกิดประชาคมอาเซียน

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน 2012 เวลา 16:45 น. เขียนโดย ทีมข่าวอิศรา
          ปฏิเสธไม่ได้ว่าตลอดหลายปีของปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรามักมองปัญหาผ่านสายตาและข้อมูลของภาครัฐ โดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคงเท่านั้น แต่แทบจะไม่เคยฟังข้อมูลจากฝ่ายผู้ก่อการที่อ้างอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนโดยตรงเลย
ประกอบกับองค์กรของผู้ก่อความไม่สงบยังคงเป็น "องค์กรลับ" แม้จะปฏิบัติการก่อความรุนแรงในทางเปิดมากว่า 8 ปีแล้วแต่ก็ยังไม่ "เสียลับ" ทำให้สังคมไทยมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ก่อความไม่สงบน้อยมาก โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่าพวกเขากำลังคิดอะไร มียุทธศาสตร์ในการก้าวไปข้างหน้าอย่างไร จะพาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปทางไหน และมีปัญหาภายในองค์กรของพวกเขาบ้างหรือเปล่า

          แม้ที่ผ่านมาจะมีการนำตัวผู้ก่อความไม่สงบที่ถูกจับกุมหรือกลับใจยอมเข้ามอบตัวมาบอกเล่าข้อมูลต่างๆ ผ่านสื่อมวลชนบ้าง แต่หลายๆ ครั้งก็เหมือนเป็นการ "จัดฉาก" ของฝ่ายรัฐ
เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นมุมมองส่วนตัว เป็นเรื่องของความลำบากในการใช้ชีวิต และความรู้สึกของผู้ก่อความไม่สงบรายนั้นๆ ในแง่ของการ "หลงผิด" เท่านั้นเอง หาได้บอกเล่าถึงแนวคิด ยุทธศาสตร์ และทิศทางของกลุ่มก่อความไม่สงบแต่อย่างใดไม่ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งอาจมาจากบุคคลดังกล่าวเป็นเพียงแนวร่วมระดับล่าง หรือกลุ่มติดอาวุธระดับปฏิบัติการ

          แต่สำหรับอดีตคนในขบวนการ "บีอาร์เอ็น" ที่ยอมพูดคุยกับ "ทีมข่าวอิศรา" ในครั้งนี้ เป็นระดับแกนนำสายศาสนา ซึ่งเมื่อตรวจสอบข้อมูลจากหลายๆ แหล่งแล้ว ยืนยันตรงกันว่าอดีตคนในขบวนการรายนี้เป็น "ตัวจริง" และเป็นแกนนำในระดับพื้นที่ แต่สาเหตุที่หันหลังให้ขบวนการก็เพราะความขัดแย้งในเรื่องแนวทางการก้าวเดินต่อไป ทว่าเขาก็ไม่ได้หันหน้าไปอยู่กับฝ่ายรัฐ

          หลายคนอาจจะเข้าใจว่าคนที่เข้าเป็นสมาชิกขบวนการแล้ว หากถอยหลังออกมาย่อมหมายถึงความตาย แต่ในความเป็นจริงขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ชายแดนใต้ไม่ได้มีมาตรการถึงขั้นนั้น เพียงแต่เมื่อไม่ร่วมมือกับขบวนการแล้วก็อย่าขัดขวาง และห้ามไปให้ข้อมูลหรือเปลี่ยนข้างไปอยู่กับ "รัฐไทย" อย่างเด็ดขาด ฉะนั้นอดีตสมาชิกหลายระดับที่ถอนตัวออกมาและไม่ได้ยุ่งเกี่ยวอะไรกับรัฐ จึงยังคงอยู่ในพื้นที่ได้ตามปกติ แต่ก็จะถูกจับตาจากคนในขบวนการมากเป็นพิเศษ

          กรณีของแหล่งข่าวรายนี้ก็เช่นกัน เขาออกจากขบวนการและออกจากพื้นที่ไประยะหนึ่ง ก่อนจะกลับเข้ามาใช้ชีวิตตามเดิม เขาเล่าถึงปัญหาภายในขบวนการที่มีอยู่ไม่น้อย พร้อมแสดงทัศนะถึงการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่กำลังคืบคลานเข้ามาของ "ประชาคมอาเซียน" ซึ่งอาจเป็นจุดเปลี่ยนที่แท้จริงของสถานการณ์ชายแดนใต้

รอยร้าวทางความคิด!
          อดีตสมาชิกระดับนำของขบวนการบีอาร์เอ็นวัย 48 ปีที่ขอเรียกตัวเองด้วยนามสมมติว่า "ยูโซะ" บอกว่า สาเหตุสำคัญที่เขาหันหลังให้ขบวนการก็เนื่องมาจากความแตกต่างทางความคิด ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่เขา แต่แกนนำในขบวนการมีความเห็นไปคนละทิศละทางอย่างหลากหลายจนกลายเป็นความแตกแยก
          "ภายในขบวนการแตกกัน เนื่องจากระยะหลังคนในระดับนำคิดไปคนละทาง เพราะเห็นแล้วว่าการต่อสู้ของขบวนการอย่างที่ทำอยู่ไม่มีทางชนะ เนื่องจากตอนนี้กลุ่มขบวนการเองก็ต้องพึ่งพาคนอื่นอยู่ แล้วเราจะมีโอกาสชนะเพื่อแบ่งแยกประเทศได้จริงหรือ จุดนี้ทำให้แกนนำแต่ละกลุ่มคิดกันไปต่างๆ นานาว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้ชัยชนะ หรือวางจังหวะทิศทางเพื่อก้าวเดินต่อไป ซึ่งแต่ละคนก็คิดไม่เหมือนกัน"
          ยูโซะ กล่าวต่อว่า นอกจากนั้นก็ยังมีเรื่องของผลประโยชน์ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ขบวนการปฏิวัติรัฐปัตตานีเดินไปไม่ได้ แต่การที่ยังมีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นอยู่ เพราะยังมีแนวรวมคอยก่อเหตุ ซึ่งการจะยับยั้งแนวร่วมเหล่านี้ทำได้ยากมาก เพราะพวกเขาถูกใส่ความเชื่อเข้าไปแล้ว ก็จะไม่รับฟังคนอื่น นอกจากคนในขบวนการเท่านั้น
          "ด้วยเหตุนี้การแก้ปัญหาความไม่สงบจึงต้องใช้ความละเอียดอ่อน ต้องใช้เวลา และใช้ความจริงใจเข้าหามวลชน แต่หากเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ไม้แข็ง ใช้ตาต่อตาฟันต่อฟัน ก็จะเหมือนเป็นการเติมเชื้อไฟ ปัญหาย่อมไม่มีวันสงบ"

ทุนป่วนมาจากไหน?
          การดำรงอยู่ของขบวนการบีอาร์เอ็นนั้น เริ่มจากการหารายได้ขั้นพื้นฐาน ซึ่ง ยูโซะ แจกแจงให้ฟังอย่างละเอียด

          "สมัยก่อนเก็บเงินจากชาวบ้านคนละ 3 บาทหรือครอบครัวละ 3 บาทต่อวัน ซึ่งช่วงแรกๆ เรามีสมาชิกอยู่ทุกหมู่บ้านในพื้นที่สามจังหวัด สมมติว่าในหมู่บ้านหนึ่งมี 300 ครอบครัว เรามี 230 ครอบครัวที่เป็นสมาชิกแนวร่วม คนที่เป็นสมาชิกทุกคนต้องส่งเงินให้กับขบวนการ โดยเงินที่เราเก็บได้จะนำไปเป็นค่าใช้จ่าย บาทแรกนำไปซื้อกระสุน บาทที่ 2 และ 3 นำไปบริหารเพื่อต่อยอดให้สมาชิก เช่น ให้กลุ่มสตรีนำเงินไปซื้อผ้าถุง หรือเสื้อกุโรง (เสื้อสตรีมุสลิม) แล้วนำมาขายให้กับสมาชิกแนวรวมตามหมู่บ้านต่างๆ ในราคาที่แพงกว่าท้องตลาดเล็กน้อย เพื่อนำส่วนต่างไปใช้ในการทำงาน ซึ่งสมาชิกทุกคนก็เต็มใจซื้อ เพื่อช่วยกันสานฝันอุดมการณ์ให้ประสบความสำเร็จ"
          "ส่วนต่างที่เป็นกำไร เราก็ส่งเข้าขบวนการ ส่วนทุนก็นำไปซื้อของมาขายใหม่ เราทำอยู่อย่างนี้มาตั้งนานแล้วโดยที่เจ้าหน้าที่ไม่รู้ หรือรู้แต่ก็ไม่ผิดกฎหมาย นอกจากนั้นเงินที่ได้ก็จะนำไปเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเด็กไปเรียนตามสถานที่ต่างๆ ที่อยู่ในเครือข่าย เพื่อกล่อมเกลาจิตใจและฝึกให้ออกมาเป็นนักรบ"
          ยูโซะ ให้ข้อมูลด้วยว่า การต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชปัตตานีจากประเทศไทยครั้งนี้ถือเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งเป็นครั้งที่ 10 แล้ว และขณะนี้อยู่ในช่วงกลางของการต่อสู้

นี่แหละ...สงครามความคิด
          อย่างไรก็ดี ตลอดหลายปีที่ผ่านมามีบรรดาแกนนำถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับกุมไปเป็นจำนวนมาก แต่คำถามที่น่าสนใจก็คือ เหตุใดขบวนการจึงไม่อ่อนกำลังลงเลย ประเด็นนี้ ยูโซะ บอกว่า นี่แหละคือสิ่งที่เรียกว่า "สงครามความคิด"
          "เมื่อคนถูกใส่ความเชื่อเข้าไปแล้ว ก็ยากที่จะเปลี่ยน และยิ่งยากหากจะให้หยุดความคิดเหล่านั้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีทางออกเอาเสียเลย แต่มันต้องใช้เวลา สถานการณ์ขณะนี้ผ่านมาแค่เพียง 8 ปี จะให้มันสงบมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว เนื่องจากทางกลุ่มขบวนการเขาปลูกฝังอุดมการณ์ ความคิด ความเชื่อมากว่า 20 ปี"
          ยูโซะ ชี้ว่า การจะทำให้แนวร่วมเปลี่ยนความคิด เงื่อนไขสำคัญที่สุดอยู่ที่ท่าทีของเจ้าหน้าที่รัฐ

          "ทุกวันนี้ปัญหาอยู่ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมากกว่า ชาวบ้านหรือกลุ่มขบวนการเองก็นั่งดูการทำงานของเจ้าหน้าที่ แม้แนวทางการแก้ปัญหาจะผิดบ้างถูกบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดา สิ่งสำคัญที่สุดคือรัฐต้องรับฟังความคิดเห็นของคนทุกกลุ่ม แต่คำถามคือรัฐได้รับฟังจริงๆ แล้วหรือยัง ผมเชื่อว่าสักวันหนึ่งแต่ไม่รู้ว่าวันไหน แกนนำขบวนการจะยอมออกมาพูดคุยด้วยแน่ แต่สาเหตุที่ยังไม่ออก เพราะยังไม่มั่นใจหน่วยงานของรัฐ เพราะรัฐเองไม่เป็นเอกภาพเพียงพอ"

ย้อนรอยอดีต "กรือเซะ"
          เขายังยกตัวอย่างถึงกลวิธีการใส่ความคิดความเชื่อให้กับชาวบ้าน ซึ่งเห็นชัดเจนที่สุดในเหตุการณ์วันที่ 28 เม.ย.2547 หรือ "เหตุการณ์กรือเซะ"
          "ในช่วงนั้นมีแกนนำเป็นผู้นำศาสนาหลอกให้ชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเยาวชนออกมาเพื่อประกาศเอกราช โดยใช้วิธีการทางไสยศาสตร์ ให้ชาวบ้านถือลูกประคำติดตัวไว้โดยอ้างว่าเจ้าหน้าที่จะมองไม่เห็น โชคดีที่วันนั้นชาวบ้านส่วนหนึ่งไม่เอาด้วย เพราะคิดได้ว่ามือเปล่าจะสู้กับปืนได้อย่างไร"

          "จริงๆ แล้วแกนนำคนที่หลอกชาวบ้านพยายามจะทำให้เกิดเหตุการณ์ทั้ง 3 จังหวัด ซึ่งหากเป็นอย่างที่เขาวางแผนไว้วันนั้นจะมีคนตายอีกเยอะ เป้าหมายเพื่อให้ต่างชาติมองว่าที่ปัตตานีมีการต่อสู้ของชาวมลายูเพื่อแบ่งแยกดินแดน แม้สุดท้ายจะไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางไว้ แต่เหตุการณ์นี้ก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของความรุนแรงที่รัฐไทยกระทำต่อชาวมลายู"

          ยูโซะ ยังชี้ด้วยว่า เหตุการณ์วันที่ 28 เม.ย.2547 มีความซับซ้อนจากการวางแผนมาเป็นอย่างดี
          "จะเห็นได้ว่ามีการจัดวางคนไปก่อเหตุสลับพื้นที่กัน เช่น เอาคนปัตตานีไปก่อเหตุที่ จ.ยะลา แล้วนำคนจากอีกอำเภอหนึ่งไปก่อเหตุอีกอำเภอหนึ่ง เหตุผลก็เพื่อให้เกิดความยากที่คนเหล่านั้นจะหาทางกลับหรือหนีกลับเมื่อรู้ว่าถูกหลอก"
          "วันนั้นมีเด็กของผมตายไป 4 คน เราไม่รู้จริงๆ ว่าเด็กเหล่านี้ไปเชื่อคำพูดของคนที่มาหลอกได้อย่างไร และหลังจากเกิดเหตุการณ์ ผู้นำศาสนาคนนั้นก็หายตัวไป จากการที่ไปสำรวจคนเจ็บและตายไม่ปรากฏว่ามีเขาอยู่"
เมื่ออาร์เคเคสังกัด"มาเฟีย"

          ดังที่เกริ่นเอาไว้ตั้งแต่ตอนต้นว่า ปัญหาในขบวนการแบ่งแยกดินแดนเองก็มีไม่น้อยเหมือนกัน และไม่ได้มีปัญหาเฉพาะในกลุ่มแกนระดับนำ แต่ยังมีปัญหาใหม่ในระดับกลุ่มติดอาวุธ หรือ"อาร์เคเค" ด้วย
          "ขณะนี้กลุ่มอิทธิพลในพื้นที่รู้ช่องทาง จึงสร้างฐานอำนาจโดยนำอาร์เคเคมาเลี้ยงไว้ แล้วต่างฝ่ายต่างก็พึ่งพากัน กลุ่มอิทธิพลได้ใช้อาร์เคเคเป็นกองกำลังส่วนตัว โจมตีเจ้าหน้าที่รัฐบ้าง โจมตีปรปักษ์ของตนเองบ้าง ขณะที่อาร์เคเคก็ได้เงิน ได้อาวุธ ได้กระสุน และมีคนคอยปกป้อง ที่แย่ก็คือเมื่อก่อนกลุ่มติดอาวุธมักอยู่ในป่า ปฏิบัติการในเขตป่า แต่วันนี้มาอยู่ในเมือง ซึ่งเป็นเรื่องน่าห่วง เพราะสามารถก่อเหตุก่อวินาศกรรมได้ทุกเวลา"
          แต่ถึงกระนั้น ปฏิบัติการเชิงรุกของรัฐก็ทำให้ "อาร์เคเค" ลดจำนวนลงมิใช่น้อย...

          "ตอนนี้ผมคิดว่าขบวนการเริ่มมีปัญหา จากการสังเกตจะเห็นได้ว่าอาร์เคเคต้องออกไปปฏิบัติการต่างพื้นที่ เช่น เด็กจากปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา ไปตายที่ อ.กรงปีนัง จ.ยะลา เด็กจากบังนังสตา (จ.ยะลา) ไปตายที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส นี่คือตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนว่า อาร์เคเคมีน้อยลง ต้องไปปฏิบัติการนอกพื้นที่รับผิดชอบ แต่เมื่อไปปฏิบัติจริง กลับไม่ได้รับการสนับสนุนจากปีกแนวร่วมเพื่อรับประกันความปลอดภัย 100% เหมือนเมื่อก่อน ทำให้เริ่มมีความสูญเสีย และสะท้อนให้เห็นว่าขบวนการเองก็ไม่สามารถพูดคุยหรือขอความร่วมมือจากชาวบ้านได้มากเหมือนเดิม"

จุดเปลี่ยนที่ "ประชาคมอาเซียน"
          ถึงวันนี้ ยูโซะ มองว่า แม้จะมีปัญหาความขัดแย้งรุมเร้า และมีกลุ่มอิทธิพลเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากอาร์เคเค แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะเดินทางถึงจุดเปลี่ยน เพราะภาครัฐยังไม่สามารถเปลี่ยนจาก "ฝ่ายรับ" มาเป็น "ฝ่ายรุก" ได้อย่างมีนัยสำคัญ
          ยูโซะ จึงเห็นว่า การก้าวสู่ "ประชาคมอาเซียน" ต่างหากที่น่าจะส่งผลต่อสถานการณ์ที่ชายแดนใต้ค่อนข้างรุนแรง

          "ผมเชื่อว่าจะทำให้สถานการณ์เบาบางลง เนื่องจากเยาวชนจะเริ่มให้ความสนใจเรื่องการศึกษามากขึ้น การเกิดประชาคมอาเซียนจะเป็นเหมือนกับการแยกสายน้ำหรือเส้นทางออกเป็น 2 สาย จากเมื่อก่อนมีเพียงสายเดียว ทำอะไรก็ไปในแนวทางเดียวกัน แต่เมื่อแยกเป็นสองแล้วจะทำให้มีตัวเปรียบเทียบว่าฝ่ายไหนจะดำรงอยู่ได้ แม้ฝ่ายที่เลือกแนวทางก่อความไม่สงบจะยังก่อเหตุได้ แต่ก็เชื่อว่าจะค่อยๆ ลดจำนวนลง"

          ส่วนแนวทางที่บางฝ่ายพยายามรณรงค์ให้เกิดการปกครองตนเอง หรือ "เขตปกครองพิเศษ" นั้น ยูโซะ บอกว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับแนวคิด แต่ในทางปฏิบัติยังเร็วเกินไป ยังไม่ถึงเวลา เพราะชาวบ้านยังไม่มีความรู้พอ หากตั้งเขตปกครองพิเศษ ประโยชน์จะไปตกอยู่กับคนแค่บางกลุ่ม และชาวบ้านส่วนใหญ่ก็จะกลายเป็นเบี้ยล่างเหมือนเดิม
          "แต่ผมคิดว่าในอนาคต สังคมชายแดนใต้จะต้องหันมาพูดเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง โดยเฉพาะเมื่อกลุ่มขบวนการรู้ว่าสู้ไปอย่างไรก็ไม่มีทางชนะ ทางแกนนำก็คงจะหันมาเลือกแนวทางต่อรองให้ได้เขตปกครองพิเศษ แต่ขณะนี้ทางขบวนการยังถือว่าได้เปรียบรัฐไทยอยู่ จึงยังไม่มีการเปิดเจรจาต่อรอง"
          ประโยคสุดท้ายของ ยูโซะ ดูจะอธิบายสถานการณ์ไฟใต้ ณ ปัจจุบันได้ดีที่สุด!

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

เจ๊ะอาลี”และสมาชิกรวม 93

ถึงชั่วโมงนี้การติดตามสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของ ไทยกำลังเป็นที่สนใจของทุกฝ่ายทั้งฝ่ายความมั่นคง  ศอ.บต.  และประชาชาชนทั่วไปในทั้งและนอกพื้นที่  และแน่นอนว่าฝ่ายขบวนการเองก็ต้องติดตามความเป็นไปนี้ในลักษณะเกาะติด  เพราะนี่จะเป็นจุดหักเหสำคัญของสถานการณ์ว่าจะดีขึ้นหรือเลวร้ายลงไปอีก 
ที่ว่าดีขึ้นคือ  ความร่วมมือระหว่างแกนนำระดับปฏิบัติการของขบวนการกับฝ่ายความมั่นคงครั้ง นี้  แม้ว่าจะยังไม่มีบทสรุปที่แน่ชัดว่าจะพบทางออกร่วมกันหรือไม่  แต่เชื่อได้ว่าระหว่างนี้สถานการณ์ความรุงแรงจะเบาบางลง  แม้ว่าจะยังมี ผกร. กลุ่มอื่นๆ ที่ไม่เห็นด้วยและยังคงปฏิบัติการจองเวรกับเจ้าหน้าที่และประชาชนผู้ บริสุทธิ์ต่อไป  แต่อย่างน้อยๆ  ความเคลื่อนไหวก่อเหตุในพื้นที่รับผิดชอบของกลุ่ม “เจ๊ะอาลี” หรือ นายแวอาลี  คอบเตอร์  วาจิ  ก็น่าจะลดน้อยลง  และที่ว่าจะเลวร้ายลงก็เพราะแกนนำระดับนโยบายที่อาจไม่เห็นด้วยจะสั่งการให้ ผู้ก่อเหตุรุนแรงกลุ่มอื่นๆ  เร่งก่อเหตุรุนแรงเพื่อแสดงให้เห็นว่ายังคงมีศักยภาพในการเข่นฆ่าประชาชนต่อ ไป   ซึ่งตรงนี้น่าเป็นห่วง
แต่ที่แน่ๆ จากผลของการตัดสินใจของ “เจ๊ะอาลี”และสมาชิกรวม 93 คนครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดการดิ้นทุรนทุรายของฝ่ายโฆษณาชวนเชื่อของขบวนการขนานใหญ่  กระแสการบิดเบือนข่าวสารชนิดหน้ามือเป็นหลังเท้าถูกส่งผ่านสื่อชนิดต่างๆ โดยเฉพาะสื่อเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ทั้งในและต่างประเทศราวห่ากระสุน  ซึ่งรวมถึงเว็บไซต์  http://www.ambranews.com  ซึ่งเป็นของคนไทยขายชาติบางคนที่ไปเช่า Sever ของ ประเทศมาเลเซีย  ที่คนในวงการสื่อรู้ดีว่ามักจะเสนอข่าวเผาบ้านตัวเองโดยมุ่งโจมตีฝ่ายความ มั่นคงและรัฐบาลไทยเป็นการเฉพาะในขณะที่ข้างฝ่ายมาเลเซียแสร้งทำไม่รู้ไม่ เห็น  ด้วยการสร้างภาพของ “เจ๊ะอาลี” แกนนำระดับสั่งการในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส   ผู้ก่อคดีความมั่นคงมาอย่างโชกโชน  และเป็นผู้ร่วมวางแผนสั่งการให้แนวร่วมนำกำลังเข้าปล้นปืนที่กองพันพัฒนาที่ 4 เมื่อ 4 ม.ค.47  ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิตไป 4 นาย และเพื่อนร่วมขบวนการที่ออกมารายงานตัวพร้อมกันครั้งนี้ให้กลายเป็นชาวสวน ยาง  เรียกว่าจากสหายร่วมรบกลายเป็นศัตรูในทันทีเลยที่เดียว 
ขณะเดียวกันก็กุข่าวว่าทั้ง 93 คนที่มาพบปะพูดคุยเพื่อสร้างแนวทางสันติในวันนั้นได้รับค่าจ้างจากฝ่ายความ มั่นคงมาแสดงละคร    นี่ย่อมแสดงถึงทาสแท้ในอุดมการณ์จอมปลอมของขบวนการที่ไม่เคยให้ความจริงใจ กับใครแม้คนที่เคยร่วมอุดมการณ์  ด้วยความกลัวว่าจะเสียมวลชน 
นี่จึงเป็นการดิ้นรนของขบวนการเพื่อรักษามวลชนไว้ให้ มากที่สุด  เพราะรู้กันอยู่ว่าการต่อสู้ในพื้นที่นี้ใครเพลี่ยงพล้ำงานด้านมวลชน  ประตูแพ้ก็อยู่ไม่ไกล
ด้านกลุ่มพูโลก็เข้าร่วมผสมโรงกับเค้าด้วยแบบไม่ทิ้งลาย “เสือกระดาษหิวเงิน” ตั้งหน้าตั้งตาเก็บเกี่ยวการปฏิบัติของกลุ่มอื่นๆ มานำเสนอแบบบิดเบือนตามถนัดผ่านเว็บไซต์ของกลุ่ม   เพื่อแอบอ้างหาผลประโยชน์ใส่ตนเองและพวกพ้องโดยการแบมือขอเงินจากต่างประเทศ เหมือนขอทานที่ไร้ยางอายต่อไป

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

ประยุทธ์” ชี้ไฟใต้ไม่สงบง่าย เหตุโจรใต้มีหลายกลุ่ม แจงไม่ใช่มอบตัวแล้วจะจบ

ที่ ท่าอากาศยานนามบินสุวรรณภูมิ วันที่ 21 ก.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีเหตุการณ์วางระเบิดที่ร้านทองจังหวัดปัตตานี ว่า เคยบอกแล้วว่าเหตุการณ์ยังคงมีต่อไป ไม่ใช่ว่าพูดคุยกันแล้วแล้วจะเลิก เพราะมีหลายกลุ่มหลายพวกและเขาต้องการยกระดับขึ้นมา
 
ตนพยายามบอกกับหน่วยต่างๆว่าอย่าไปให้ความสำคัญ เพราะจะเป็นการยกระดับเขาขึ้นมา ให้ความสำคัญเขามากขึ้นและจะกลายเป็นคู่ขัดแย้ง และสุ่มเสี่ยงต่อการถูกแทรกแซงจากภายนอก

อย่างไรก็ตามจากการที่ตนได้ไปเยือนประเทศอินโดนีเซีย ตนได้พูดคุยกับเขาในฐานะที่เป็นประเทศมุสลิม ซึ่งตนถามเขาว่าเขาทราบหรือไม่ว่าเราแก้ไขปัญหาอย่างไร เขาบอกว่าทราบดี ทั้งนี้เขายังชื่นชมว่าเราแก้ไขปัญหาได้ถูกแล้ว ยิ่งเฉพาะผู้ก่อเหตุในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เข้ามาพูดคุยกับเจ้าหน้าที่เขา บอกว่าในประเทศของเขารบกันมาหลายปีไม่มีใครออกมามอบตัว ตนได้ใช้แนวทางของประเทศอินโดนีเซียและประเทศอื่นๆที่มีเหตุการณ์เช่นนี้มา เทียบเคียงและมาเป็นบทเรียนและนำมาสู่การแก้ไขปัญหามาโดยตลอด

“คิดว่าการแก้ไขปัญหาของเราในขณะนี้มาถูกทางแล้ว แต่ที่ยังมีเหตุการณ์อยู่ เพราะว่าตราบใดที่คนพวกนี้ยังเปลี่ยนแนวคิดกลับมาไม่ได้ หรือหาทางกลับไม่ถูก เขาต้องพยายามสู้ไปก่อนจนกว่าเขาจะได้ชัยชนะ แต่สิ่งที่เรานำมาวิเคราะห์ก็คือถ้าเขาคิดว่าเขาจะชนะแล้วทำไมเขาถึงมามอบ ตัว ซึ่งเราไม่ได้บังคับหรือจัดฉากมา เขามาของเขาเอง พร้อมทั้งขอความมั่นใจจากเจ้าหน้าที่ว่าเขาออกมาแล้ว ทางเจ้าหน้าที่จะดูแลขาอย่างไร ซึ่งคงจะใช้แนวทางคล้ายกับประกาศ 66/23 แต่ปัญหาที่มีอยู่คือเรื่องกฎหมายป.วิอาญา ที่ทางรัฐบาลได้ให้กระทรวงยุติธรรมร่วมกับกอ.รมน.และศอ.บต.ไปดูแล้ว ว่าจะสามารถปรับตรงไหนอย่างไรไดบ้าง เพราะมาตรา 21 ของพร.บ.ความมั่นคงฯเรามีอยู่แล้ว ซึ่งมีคณะกรรมการในการกลั่นกรองและทำให้เกิดความล่าช้า ทำให้ฝ่ายโน้นเกิดความไม่มั่นใจ แต่ทั้งนี้ทุกอย่างต้องไม่ละทิ้งกระบวนการบยุติธรรม เพราเป็นความผิด”พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า อยากฝากไปยังญาติผู้ก่อเหตุว่าอย่ากลัวเจ้าหน้าที่ เพราะคนเราสามารถให้อภัยกันได้ สร้างความเข้าใจ สำหรับผู้ที่ไดรับผลกระทบจากการกระทำของเขาก็ต้องได้รับการเยียวยาจากรัฐบาล ซึ่งทั้งหมดเรียกว่าระบบหรือกระบวนการที่สร้างความเป็นธรรมให้กับสังคมและ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทุกความขัดแย้งสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยการเยียวยา ซึ่งไม่ใช่เฉพาะเรื่องเงินอย่างเดียว แต่เรามีการเยียวยาทางด้านจิตใจให้เขายอมรับ ทั้งนี้เราไม่ได้ยกเว้นโทษแต่สำหรับคนที่ไม่ได้ฆ่าคนพอที่จะยกโทษได้ เช่นคนที่ไปโรยตะปูเรือใบ เปรียบเหมือนเด็กเกเรที่เขาบอกให้ไปทำก็ทำ แต่ไมได้ไปฆ่าใคร แต่ถ้าไปฆ่าคนก็ต้องสอบสวนว่าเพราะสาเหตุใดควรจะลดโทษหรือไม่ แต่จะให้ยกโทษทั้งหมดคงไม่ได้

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

Selatan Dihantam Bom, 6 Korban Tewas Lebih 40 Cedera

Lagi, Aparat keamanan colonial Thailand menjadi sasaran serangan Pejuang Kebebasan Patani.

Bom mobil di Thailand selatan menewaskan enam orang dan melukai lebih dari 40 orang lainnya, Jumat 21 September.

Sebelum ini Selasa (18/9), Partai Demokrat Oposisi Abhisit Vejjajiwa dangan Kerajaan Partai Pheu Thai Perdana Menteri Yingluck bersama mengumpulkan kekuatan menangani masalah di daerah rawan Selatan Thailand. Serangan ini satu cabaran baru kerajaan mengusahakan langkah menangani situasi rumit.

Kepolisian Thailand mengatakan ledakan terjadi di kota Sai Buri, provinsi Patani tidak lama setelah sekelompok Unit RKK (Ronda Kumpulan Kecil) bersenjata menyerang toko emas sehingga banyak aparat keamanan yang bergerak menuju lokasi.

"Sampai saat ini terdapat enam korban tewas termasuk petugas paramiliter" kata seorang pejabat rumah sakit daerah Sai Buri. Ia mengatakan, 14 korban yang cedera berada dalam kondisi kritis.

Sementara itu, polis setempat mengkonfirmasi angka kematian itu dan mengatakan, 37 orang cedera di mana 25 di antaranya adalah warga sipil yang ceera ringan.

Sedikitnya enam orang terbunuh dan 40 lain terluka setelah sebuah mobil meledak di kawasan sibuk pusat perbelanjaan di Thailand Selatan. Kawasan itu dikenal paling rentang mengalami serangan.

Perawat rumah sakit kewalahan menolong para korban yang dilarikan ke rumah sakit terbesar kota Sai Buri. Darah korban berceceran di lantai rumah sakit ketika tubuh korban tewas dibawa masuk.

"Ada enam korban tewas saat ini," ujar pejabat Kementrian Kesehatan menurut konfirmasi rumah sakit local.

Sementara 41 lain teluka baik akibat serpihan bom ataupun luka bakar,' ujarnya. Di antara korban luka, 19 di antaranya mengalami cedera serius dan telah dibawa untuk dirawat ke rumah sakit provinsi lebih besar.

Kepala Polis Saiburi Kraisorn Wisitwong mengatakan melihat cara unit geriliyawan itu melakukan serangan penyerangan itu direncanakan dengan baik. Penyelidikan lebih lanjut sedang digelar polis.

Seorang juru bicara Angkatan Darat Thailand mengatakan tembakan ke arah toko emas di pusat kota Sai Buri terjadi tidak lama setelah sembahyang Jumat. Menurutnya, bom diledakkan setelah pasukan keamanan tiba di lokasi penembakan.

Ledakan menimbulkan korban jiwa dan menghancurkan sejumlah gedung di sekitarnya.

Wartawan BBC di Bangkok, Jonathan Head, melaporkan taktik serangan seperti itu sering digunakan oleh gerakan gerilyawan.

Tercetus kembali Obor Revolusi rakyat Patani pada than 2004 menuntut  hak kebebsan, hak keadilan di wilayah selatan yang majority penduduknya Melayu beragama Islam telah merenggut lebih dari 5.000 nyawa dari warga Melayu maupun warga Siam sejak berkobar lagi pada 2004.

Pemerintah Thailand, kata Jonathan Head, telah meluncurkan prakarsa untuk mengakhiri konflik, antara lain dengan menggunakan pendekatan militer dan pendekatan negosiasi tetapi sejauh ini belum membuahkan hasil seperti yang diharapkan.

Seorang jurubicara militer di Selatan, Kolonel Pramote Prom-in mengklaim bahwa bom tersebut, yang memicu kebakaran yang menghancurkan tujuh buah toko dan sepuluh toko lain sedikit kehagusan. Seragan ini dimaksudkan sebagai peringatan kepada penduduk setempat untuk tidak berbicara dengan pasukan keamanan setelah hampir 100 tersangka yang mengaku dirinya pejuang "menyerah" pekan lalu.

"Para geriliyawan Patani tidak ingin solusi damai (untuk mengakhiri konflik) sehingga mereka untuk tidak ingin berpihak dengan pemerintah," kata Kolonel Pramote. "Tapi itu tidak akan mempengaruhi upaya pemerintah."

Dalam menanggapi meningkatnya kekerasan selama musim panas, pihak berwenang mengatakan mereka telah memperbarui pembicaraan damai dengan para pemimpin pejuag.

"Jangan menyebutnya negosiasi ... tetapi ada pembicaraan untuk mencapai perdamaian yang merupakan kebijakan pemerintah yang penting," kata Wakil Perdana Menteri Yutthasak Sasiprapa pada bulan Agustus.

Tetapi demikian serangan dari Pejuang Kebebasan Patani terus berlanjut.

Para analis mengatakan kisi dari Pejuang Kebebasan Patani yang beroperasi di hutan subur dan di desa mau ke bandar di tiga provinsi selatan menggunakan taktik semakin canggih untuk melakukan serangan terkoordinasi.

Puluhan anggota pasukan keamanan Thailand telah tewas dalam beberapa pekan terakhir dalam penyergapan dan bom pinggir jalan.

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

แค่คืนความเป็นธรรม"คำสารภาพ"โจรใต้"กลับใจ

เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยพยายามเข้ามาแก้ไข เพื่อให้ความสงบสุข
กลับคืนสู่พี่น้องชาวใต้อีกครั้ง ทั้งนี้ ที่ผ่านมาแม้ว่ารัฐบาลจะทุ่มงบประมาณ และกำลังพลเข้าไปแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง แต่ความไม่สงบ
กลับรุนแรงขึ้นทุกขณะไม่เว้นแต่ละวันถึงวันนี้ปัญหาดังกล่าวถือเป็นภาระหนัก อึ้งที่รัฐบาลต้องตอบโจทย์ให้ได้ แต่สิ่งหนึ่งต้องยอมรับว่า
มาตรการ การแก้ไขปัญหา 3จังหวัดชายแดนภาคใต้กำลังเดินมาถูกทาง โดยเฉพาะการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคง
ภายในราชอาณาจักร ปี 2551 เพื่อให้ผู้ที่หลงผิดกระทำการก่อการร้ายกลับเป็นพลเมืองดี เพื่อพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เจริญยิ่งขึ้น
และจากมาตรการดังกล่าวทำให้กลุ่มผุ้ก่อความไม่สงบทยอยเข้ามอบตัว โดยล่าสุดกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบจำนวน 40 คนได้ติดต่อ
ขอมอบตัว ผ่านทาง นายประพัฒน์ วิบูลย์สุขทนายความอิสระ ผู้ประสานงานกับอดีตผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้
ซึ่งทีมข่าวอาชญากรรมสำนักข่าวเนชั่นได้เจาะลึกถึงสาเหตุ และแรงจูงใจที่ทำให้กลุ่มผุ้ก่อความไม่สงบเข้าร่วมขบวนการก่อเหตุ
ในพื้นที่ พร้อมทั้งสาเหตุที่ยอมกลับใจมอบตัวต่อเจ้าหน้าที่นายเต็ง(นามสมมุตติ) อดีตผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้
1 ใน 40 คนที่จะเข้ามอบตัว เปิดใจต่อ "ทีมข่าวอาชญากรรมสำนักข่าวเนชั่น" ว่าเข้าร่วมขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3
จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2548 โดยการชักชวนจากเพื่อนในกลุ่มพื้นที่ จ.ปัตตานี ส่วนสาเหตุที่เข้าไปร่วมในขบวนการเป็นเพราะ
ความโกรธแค้นที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับกุม และ สังหารเพื่อน-ญาติทั้งที่ไม่ได้กระทำความผิด
เมื่อย้อนถามไปถึงพฤติกรรมการก่อเหตุในพื้นที่นั้น ทีมข่าวอาชญากรรมสำนักข่าวเนชั่นถึงกับอึ้ง เมื่อได้รับคำตอบว่าหลังจากเข้าร่วม
ขบวนการเคยก่อเหตุมาแล้ว6 ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการยิงสายข่าว เจ้าหน้าที่รัฐ หรือตัวเจ้าหน้าที่รัฐ หรือแม้กระทั่งลอบวางระเบิดในพื้นที่
โดยในแต่ละครั้งหากเป็นการยิงสายข่าวของเจ้าหน้าที่รัฐจะได้เงิน 400-500 บาท แต่ต้องทำงานสำเร็จ คือ "ฆ่าให้ตาย" ส่วนการวางระเบิด
จะได้ครั้งละ 1 หมื่นบาท ขึ้นไปแล้วแต่ความยากง่ายของงานคือ กลุ่มแรก จะเป็นคนนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามา กลุ่มที่สอง
จะเป็นคนประกอบระเบิด ส่วนกลุ่มสุดท้ายจะเป็นคนนำระเบิดไปวางยังจุดที่ได้รับมอบหมาย ผมอยู่ในกลุ่มสุดท้ายคือ นำระเบิด
ไปวางตามเป้าหมายที่ต้องการก่อเหตุโดยการวางระเบิดแต่ละครั้งจะอำพรางตัวเองเป็นชาวบ้านเมื่อก่อเหตุเสร็จจะหลบหนีไป
อยู่บ้านเพื่อน 4-5 วัน หรือบางครั้งอยู่ในบ้าน เมื่อเรื่องเงียบจะออกมาใช้ชีวิตตามปกติ" อดีตกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกลับใจกล่าว.  
อย่างไรก็ตามในมุมมองของนายเต็ง ได้กล่าวถึงสาเหตุของความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า เป็นเพราะการแย่งผลประโยชน์
ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเถื่อน หรือยาเสพติด มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เป็นปัญหาการแบ่งแยกดินแดนหรือสงครามศาสนา
รวมถึงความไม่เข้าใจ ภาษาการสื่อสาร ระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนในพื้นที่ ทำให้เกิดการดูถูกเหยียดหยาม ชาวบ้านจึงเกิดความ
คับแค้นเข้าร่วมกับกลุ่มก่อความไม่สงบ ทำให้กลุ่มก่อการ้ายขยายเป็นวงกว้าง ขณะเดียวกันผลประโยชน์ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ
ที่กล่าวไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถแยกออกว่า "ใครเป็นคนก่อเหตุตัวจริงกันแน่"

นอกจากนี้นายเต็ง มองถึงการแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ให้สงบลงว่า ควรให้ทหารดูแลพื้นที่โดยตรง ควรยกเลิกกลุ่มอาสาทหารพราน
เพราะอาสาทหารพรานบางคนไม่เข้าใจปัญหา บางคนเคยทำผิดมาก่อน เมื่อฝึกอบรมออกมามีตำแหน่งกลับมาถืออาวุธข่มขู่ชาวบ้าน
บางครั้งถึงขนาดจับคนในพื้นที่ไปติดคุกทั้งที่ไม่ได้ทำผิดอะไร ต่างจากทหารเพราะทหารได้รับการฝึกอบรมมาเป็นอย่างดี
สุดท้ายนายเต็ง ได้เปิดใจถึงสาเหตุที่ออกมามอบตัวต่อเจ้าหน้าที่รัฐว่า ที่ผ่านมาหลงผิดกับสิ่งที่ทำไป ส่วนตัวอยากให้พื้นที่ 3 จัดหวัดชายแดน
ภาคใต้สงบสุขเหมือนเดิม ผมอยากจะช่วยเหลือเพื่อนๆ ที่ถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับไปคุมขัง ทั้งที่ไม่ได้ทำความผิด พวกเขาต้องใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำ
วันนี้ผมอยากเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่เพื่อนที่ถูกฆ่า และถูกยัดข้อหาว่าเป็นกลุ่มก่อการร้ายขณะเดียวกัน ทีมข่าวสำนักข่าวเนชั่น
ได้ประสานผ่าน นายประพัฒน์ ผู้ประสานงานอย่างอดีตผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
เพื่อเข้าไปพูดคุยกับนายยา (นามสมมุติ) กลุ่มผู้ก่อการร้ายในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี 2544
นายยาเปิดใจว่า ก่อนหน้านี้ในปี 2544 เคยเป็นอดีตทหารพรานทำงานให้รัฐในหน้าที่ประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน
และเป็นสายข่าว ต่อมากลับมาถูกจับยัดข้อหาในคดีฆ่าปาดคอ โดยขณะนั้นมีพยานเพียงเด็ก 7 ขวบ ลูกชายของผู้ตายชี้รูปว่า
ใครเป็นก่อเหตุเท่านั้น เมื่อถูกจับกุมไป การประสานงานระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนไม่มี ทำให้กลุ่มก่อความไม่สงบออกอาละวาด
ประกอบกับในยุคของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้ปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่ ทำให้มีประชาชนที่เป็นมุสลิม
ในพื้นที่ถูกเจ้าหน้าที่ยัดข้อหา และวิสามัญฆาตกรรม เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงโกรธแค้นเจ้าหน้าที่รัฐ จึงเข้าไปร่วมกลุ่มพูโล หรือ
อาร์เคเค ในปัจจุบัน แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะการแย่งชิงผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่
"ถ้าต้องการให้ชายแดนใต้สงบ เจ้าหน้าที่ต้องคืนความเป็นธรรม ให้แก่ชาวบ้านที่ถูกจับกุม หรือถูกสังหารในคดี
ที่พวกเขาไม่ได้ก่อขึ้น และทำตามข้อเสนอเกี่ยวกับโครงสร้างการแก้ปัญหาได้ที่อดีตผู้ก่อความไม่สงบ 40 คน
ได้เสนอไปปัญหาเหล่านี้จะจบลงอย่างแน่นอน"นายยากล่าวปิดท้ายอย่างน่าสนใจ
"แสงสว่างปลายอุโมงค์ นโยบายการนำคนกลับบ้าน และส่งเสริมรับฟังผู้มีความคิดต่าง ไม่ยอมรับผู้ใช้อาวุธทุกกรณี
บวกการดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง ของขุนทัพยี่ห้ออุดมชัย ของทัพภาค 4 คนปัจจุบัน คือ
ขวากหนามที่ กลุ่มขบวนการต่อกรด้วยยากจริงๆ"(ผู้โพส)

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

Gerela Patani Tembak Mati Tiga Tentara Thai (kafir)

Tiga tentara paramiliter ditembak mati oleh geriliyawan Patani yang kemudian membakar tubuh mereka dalam penyergapannya di Thailand selatan, Sabtu (15/9) pagi.

Tiga korban diserang saat mereka pergi ke sebuah pasar di Yala. Kejadian ini berlaku di desa Pramat Kabupaten Muang Provinsi Yala.

Wilayah itu merupakan salah satu sarang ‘perang’ yang sudah berlangsung sejak delapan tahun terakhir yang majority Melayu Muslim yang hidup di provinsi perbatasan itu.

Konflik antar kerajaan Gajah Putih dengan penduduk etnis Melayu telah merenggut 5.300 nyawa.

"Saya berpikir bahwa mereka telah meninggal sebelum orang bersenjata membakar truk pick-up mereka," kata Letnan Kolonel Charas Chinapong, aparat polis dari distrik Muang, menambahkan bahwa mayat ditemukan di dalam truk.

Ratusan selognsong peluru yang ditemukan di TKP, katanya.

Sebuah kelompok pro kemerdekan Patani yang menginginkan sebuah ‘Negara Independen’ yang lebih besar melakukan serangan hampir setiap hari di provinsi Yala, Pattani dan Narathiwat.

Sementara dalam upaya menanggapi tindak kekerasan yang terjadi, pemerintah colonial Thailand mengusahakan pembicaraan dengan para pemimpin Pejuang Kebebasan Patani, namun analis skeptis (tidak percaya) perdamaian terwujud dalam waktu dekat.

ร่อนจม.เปิดผนึกขอคำมั่นฝ่ายรัฐ

ทั้งนี้ การแสดงตัวยืนยันยุติการต่อสู้ของนายแวอาลีคอปเตอร์ กับพวก ครั้งนี้ ได้ทำจดหมายเปิดผนึกในนามกลุ่มปลดปล่อยความขัดแย้งเขตปกครองใหม่มลายู ปัตตานี มีข้อสรุปร่วมกัน คือ 1.เข็มมุ่งทางยุทธศาสตร์การต่อสู้ล้ำหน้ามวลชนและยาวไกลเกินไป 2.การชี้นำแนวทางขององค์กรนำ ไม่สามารถให้คำอธิบายได้ชัดเจนในทางยุทธวิธีเพื่อบรรลุยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบ และ 3.เมื่อ สถานการณ์เปลี่ยนแปลง รัฐกำหนดนโยบายที่สร้างสรรค์มากขึ้น พวกเราจึงต้องกำหนดแนวทางใหม่ พร้อมกับขอทราบทิศทางความชัดเจนแนวทางปฏิบัติต่อข้อเรียกร้อง
สำหรับประเด็นข้อเรียกร้อง คือ 1.รัฐมีมาตรการดำเนินการต่อผู้ที่ยุติบทบาทการใช้ความรุนแรงอย่างไร โดยเฉพาะผู้ที่มีหมายจับ 2.รัฐจะจัดการความขัดแย้งให้เป็นรูปธรรมอย่างไรเพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพในพื้นที่ และ 3.รัฐมีหลักประกันเช่นไรในการกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตประชาชนใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ เราคาดหวังคำตอบที่เป็นรูปธรรม ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญที่จะสร้างสังคมให้มีความสันติสุขยุติความรุนแรงโดยสิ้น เชิง แม้มีบางกลุ่มยังเคลื่อนไหวด้วยวิธีรุนแรง แต่ที่สุดก็จะเป็นส่วนน้อยในทรรศนะของมวลชนส่วนใหญ่
โร่เช็คหมายจับก่อนให้ประกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเข้ามอบตัวครั้งนี้เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงมีการเช็คประวัติเป็นราย บุคคล หากมีหมายจับก็จะนำสู่กระบวนการสอบสวน และอนุญาตให้ประกันตัวสู้คดี ถ้าไม่มีหมายจับและตกเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคงก็จะนำเข้าอบรมเพื่อ สลายพฤติกรรม พร้อมทั้งหาอาชีพให้ทำเพื่อจะได้อยู่กับครอบครัวต่อไป
ชี้ดูแลดีมีหัวโจก 2 รายรอมอบตัว
รายงานข่าวแจ้งว่า หากรัฐบาลดูแลและให้ความเป็นธรรมต่อนายแวอาลีคอปเตอร์ และพวก อย่างดี อีกไม่นาน นายสะแปอิง บาซอ และนายมะแซ อุเซ็ง แกนนำคนสำคัญที่เคลื่อนไหวอยู่ก็จะประสานออกมาแสดงตัวยืนยันยุติการต่อสู้ กับรัฐ ซึ่งมีแนวโน้มความเป็นไปได้สูง แต่คงขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลและกองทัพ ที่ต้องกำหนดกรอบให้ชัดเจนเรื่องคดีความ
นอกจากนี้ แหล่งข่าวจากหน่วยงานด้านความมั่นคง เปิดเผยว่า การขอเจรจากับรัฐบาลเรื่องความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของนายคัสตูรี มะโกตา หัวหน้ากลุ่มพูโล ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ที่ประเทศสวีเดน ได้มีการประสานตรงไปยังนายกรัฐมนตรี ครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 4 กันยายน ที่ผ่านมา แต่เรื่องดังกล่าวเงียบหายไปจึงเป็นข้อกังขาอย่างหนึ่งที่ทำให้แนวร่วมผู้ ก่อความไม่สงบยังไม่กล้าออกมามอบตัว และยังคงทำให้ภาคใต้มีสถานการณ์ความรุนแรงเรื่อยมาถึงทุกวันนี้
แม่ทัพ 4 เผยเป็นจุดเริ่มที่ดี แต่ต้องเข้าสู่กระบวนการทางกฏหมาย
ขณะที่แม่ทัพภาคที่ 4 ได้กล่าวกับผู้ที่แสดงตนทั้ง 93 คนว่า ทุกคนที่มาในวันนี้เพื่อแสดงจุดยืนในอุดมการณ์การต่อสู้เชิงสันติ และเป็นไปตามนโยบายสานใจสู่สันติของกองทัพภาคที่ 4 เจ้า หน้าที่ทุกฝ่ายยอมรับในความแตกต่าง แต่ยอมรับไม่ได้ในการใช้ความรุนแรงเข้าต่อสู้ ในส่วนของผู้ที่มีหมาย พรก.เมื่อเข้ามาแสดงตัวกับเจ้าหน้าที่ ถือว่า พรก.ยุติและจะได้รับการคุ้มครองจากรัฐ ส่วน ป.วิอาญาก็จะต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมายที่เอื้อต่อผู้ที่หลงผิดที่กลับใจ อย่างไรก็ตาม นโยบายของทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ได้กำหนดกรอบไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้มีการต่อสู้เชิงสันติ ทั้งการสร้างความเข้าใจรวมทั้งการเปิดพื้นที่เพื่อให้มีการพูดคุยของผู้หลง ผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อปรับแนวทางเข้าหันให้มากที่สุด แต่ย้ำว่าทุกคนมีทางออก ไม่มีใครแพ้หรือชนะ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่แสดงตนในครั้งนี้ทั้งหมดอยู่ระหว่างขั้นตอนกระบวนการทางกฎหมายในการ ต่อสู้คดีในชั้นศาลต่อไป

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

Apa sebenar berlaku pada 11 September 2012

Sebagai dilaporkan melalui akhbar bertulis dan akhbar elictronic(TV, Website, Blogger dan sebagainya), bahawa pada 11 Sept yang lepas peristiwa berlaku, bahasa sebanyak 93 orang angota pemisah Patani dari gerakan BRNc
yang diketui oleh Wan Ali copter yang mempunyai harga tubuhnya sebayak satu juta bath menyerah diri kepada pihak berkuasa Thailand yang dilakonkan oleh Pelakon utama Lt.Gen. Udomchai Thammasirorat penglima Division 4 dan disusuli dengan pelakon upahan dari kumpulan party Prachatham dan diatur lakonkan di bangunan majlis agama Islam wilayah Narathiwat dan lakonan ini katanya akan dipersembahkan sekali lagi dihadapan rumbungan OIC yang akan menziarahi Thailand tidak beberapa hari lagi. Tetapi hairan sekali, dimana beradanya pelakon pelakon utama yang lain seperti Gabenor gabenor wilayah dan yang paling anih sekali dimana beradanya pengurusi pusat pentadbiran wilayah sempadan selatan(SPBAC) Thawee Sodsong???.Eh nampaknya kelucuan sekali dan kerentakan dikalangan mereka teramat sangat, tentera dengan caranya sendiri SBPAC pula dengan caranya sendiri merebut rebutkan publisiti dan budget yang amat besar itu.

Walaubagaimanapun nampaknya pihak berkuasaThailand termasuk ketua angkatan tentera daratnya iaitu Gen. Prayuth Chan-Ocha dan timbalan perdana menteri Gen. Yutthasak Sasiprapa cukup gembira dan cukup memuas hati keatas peristiwa ini dan lantas suaranya mempertahan kebenarannya sehingga Gen. Yutthasak begitu marah kepada para academic dan laman website ambra news yang cuba memperlekehkan lakonan itu, dan sekaligus juga mereka merasakan seolah olah conflict berdarah di Patani darussalam menghampiri masa penghujungnya.

Tetapi rasa dukacita juga kita apa bila sedikit saja ugutan dari Gen. Yutthasak terhadap ambranews yang sudah bermula bagi kepercayaan kepada pembaca dan ummah, lantas menggeluarkan kenyataan yang bersifat pengecut dan takut dengan mengisytiharkan bahawa, Ambranews Bukan Website Menentang Kerajaan Thai(Cuba baca article yang keluar pada 14/Sept). Ini mengigatkankan kita sekali lagi sejarah lama yang berlaku kepada seorang tokoh politik tempatan yang berhubung rapat silsilahnya dengan Assyahid Tuan Guru Haji Sulung mana beliau dengan lantang minta menjujung Al-Quran demi menafikan hubung kait beliau dengan pihak gerakan pemisah setelah agin agin meniup menuduhkan beliau oleh pihak kerajaan Thai. Harap berlapang dada dan anggapkanlah saja ini sebagai kritikkan membina. Tapi Alhamdulilah setakat ini kumpulan acdemic masih belum bergunjang.

Sebelum kita pergi kepada issu sebenar, ingin kita menyoalkan kepada pelakon pelakon semua, andai kita katakan penyerahan ini memang berlaku, adakah anda percaya bahawa perjuangan Patani akan lenyap begitu saja dan conflikt sudah selesai? Takkah penyerahan ini tidak berlaku di masa masa yang lepas? Teryatanya sekali bahawa dengan peyerahan, tangkapan dan pembunuhan itu bukan ubat untuk menyelesaikan conflikt secara berkekalan.

Kembali kepada issu asal, mengikut laporan yang kita dapat dari sumbir dalam lagi sohih katanya, Pada tanggal 11/9/2012 diadakan oleh satu party politik siam PRAKCHATHAM upacara majlis yang diberinama Majlis Rundingan diantara anggota gerakan RKK yang menyerah diri dengan pihak Penglima tentera darat bahagian 4 majlis ini bertempat di bangunan majlis agama islam wilayah Naratiwat sedangkan kebanyakan ahli jawatan kuasa majlis di beritahu sebelum itu akan diadakan majlis perjumpaan ahli anggota party prakchatham .

Seramai 93 orang lebih dari anggota party prakchatham yang hadir pada hari tersebut dengan jemputan oleh yang bertanggong jawab dalam party itu untuk datang mendengar dasar dari pihak tentera yang ada hubung kait dengan keamanan dan keselamatan mereka dari hukuman –hukuman undang darurat keatas mereka . tapi apabila di istiharkan dalam berita terjadi cerita lain .

Cadangan ini disediakan oleh ketua tentera bahagian 4 ( udomchai )dan pengurusi Party prakchatham Mukhtar Sikacik dan bekas seorang pejuang Patani Wae ali cofter .

Siapa mereka ?!

1- Ialah mereka pernah memberi sukongan kepada pihak gerakan dan bukan Dari anggota party , atau meraka ini berjuang hanya sebagai ikut pakatan ramai dan tidak paham pengertian metalamat perjuangan yang sebenar .

2- Gulungan ini juga terdiri dari kebanyakan orang-orang yang mencarai kesempatan hidup /kepentingan diri sendiri , kerana kita boleh kenal mereka semasa mengundi pada pilihan raya yng lalu , kebanyakan mereka dari huana khanaeng( ) party tersebut .

3- Ada juga dari kalangan 93 orang itu yang pernah terutang budi dengan Ajk party yang pernah menulong mereka dari blacklist dan warang tangkap ,

4- Majlis itu adalah satu tunjukan sandiwara kepada masyarakat Siam khasnya dan amnya kepada mata-mata dunia bahawa semua dasar yng sedang dijalankan adalah berkesan dan tidak menyalahi dengan peraturan undang-undang antara bangsa .

5- Majlis itu merupakan satu tindak balas pelsu diatas tunjukan kekuatan yang dilaksanakan oleh pihak gerakan pada 31/8/2012 baru-baru ini dengan cara menaikan bendera Malaysia di semua kawasan Patani .Tindak balas pelsu dari pihak siam seperti ini selalu dibuat apabila ada apa-apa tindakan besar dari pihak gerakan .

6- Lakonan ini boleh memalukan Udomchai sekali pula , sbb semua jumlah 93 orang yng hadir itu bukanya pejuang Cuma pelakon makan upah harga murah , dan dunia semua akan tahu apa hakikat sebenar dihari terdekat ini insyaallah...

Patani Ambranwes


วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555

93 Orang Tertipu Menjadi Drama Menyambut OIC


BANGKOK, 15 Sep – Kerajaan Thai sentiasa memainkan drama untuk menjelaskan konflik di wilayah selatan. Hari ini ahli akademik negara Thai mengatakan bahawa 93 orang menyerah diri pada tanggal 11 september 2012
adalah drama yang dibuat oleh kerajaan untuk menimpu OIC. menteri pertahanan ACM. Sukampol Suwannatad membantah ahli akademik dengan melarang jangan memberi pandangan seperti itu oleh sebab orang yang menyerah diri itu adalah pejuang dan ada waran tangkap kes jenayah, ACM. Sukampol berkata lagi jikalau ahli akademik tidak buat apa-apa yang memberi keuntungan lebih baik diam sahaja.

Selama 4 hari kerajaan tidak boleh memberi jawapan terhadap 3 perkara permintaan 93 orang yang menyerahkan diri, salah satunya menghapuskan rawan tangkap dan semua kes jenayah. Tawaran kerajaan kepada semua 93 orang itu hanya memberi kemudahan dalam perjalan ke mahkamah sahaja, tetapi tawaran itu tidak memuaskan 93 orang yang menyerahkan diri itu, serta memberi jaminan jikalau kerajaan Thai tidak menghapuskan semua waran tangkap dan kes jenayah 93 orang, hal ini meyakinkan bahawa pejuang yang lain tidak akan menyerahkan diri selepas ini.

Gen.Yutthasak Sasiprapha selepas mesyuarat dengan AJK di wilayah selatan memberi ucapan dengan pemberita di Bangkok mengatakan beliau mengarah Let.Gen. Udomcha Thammasarorat untuk menyediakan persiapan dalam menerima kedatangan OIC pada tanggal 17 September 2012 ini, salah satu dari padanya adalah membawa OIC berjumpa dengan group yang menyerah diri pada tanggal 11 September lalu. Untuk membuktikan bahawa kerajaan Thai dapat mengatasi keadaan sehingga 93 orang pejuang menyerah diri dan tidak buat apa-apa tindakan lagi dari kerajaan Thai.

Drama yang ditayangkan oleh kerajaan Thai untuk mempertahankan OIC mengangkat konflik di wilayah selatan Thai sebagai agenda utama dalam mesyuarat agong OIC, sedangkan konflik di wilayah selatan sekarang ini kerajaan Thai tidak mengetahui arah tuju untuk menyelesaikannya. Badan-badan kerajaan yang bertugas untuk menyelesaikan konflik ini masih bergadas sesama sendiri. Harapan orang Melayu Muslim wilayah selatan Thai adalah di tangan OIC dalam menyelesaikan masalah di tempat ini oleh sebab kerajaan Thai hanya dapat menyelegakan keadaan tetapi tidak dapat mangatasinya.

Patani Ambranews

ขบวนการที่อ้างอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดน

“ลูกเราเกิดมาอนาคตจะเป็นอย่างไร เราก็เข้าๆ ออกๆ หนีบ้าง อยู่บ้าง งานการก็ไม่ได้ทำ" เป็นคำพูดเปิดใจของ "มะนาวี" มือประกอบระเบิดซึ่งมีพื้นที่ปฏิบัติการอยู่ใน อ.ระแงะ จ.นราธิวาส ที่ได้อธิบายเหตุผลของการตัดสินใจหันหลังให้ขบวนการที่อ้างอุดมการณ์แบ่งแยก ดินแดน ซึ่งก่อความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้อย่างต่อเนื่องมานานเกือบ 9 ปี
เหตุผลของ "มะนาวี" ไม่ต่างอะไรกับ "บักรี" หัวหน้ากองกำลังติดอาวุธผู้รับผิดชอบหนึ่งในสามโซนของ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส "ทุกคนอ่อนที่ครอบครัวทั้งนั้น พอได้แฟน ได้ลูก เราก็จะกลับมาคิด"

"เรามองชีวิตที่เป็นอยู่แล้วไม่สบายใจ เห็นคนอื่นซื้อไอศครีมแท่งละ 25 บาทให้ลูก เราต้องซื้อลูกชิ้นไม้ละ 5 บาทมี 4 ลูก ช่วงรายอต้องหลบๆ ซ่อนๆ พาลูกไปหาปู่ย่าตายายก็ไม่ได้ ส่วนลูกคนอื่นใส่ชุดหล่อไปเที่ยว เราพาไปไม่ได้ สายตาของลูกที่ผิดหวังทำให้เราคิดหนัก" บักรี บอก

มะนาวี กล่าวเสริมว่า ทำหน้าที่ประกอบระเบิดมาหลายปี ไม่เคยมีอุปกรณ์ป้องกันสารพิษ วันหนึ่งก็ล้มป่วย อาการหนักมาก แต่พอเข้าโรงพยาบาลแล้วรอดกลับมาได้ จึงรู้สึกเหมือนตายแล้วเกิดใหม่

"ขบวนการเคยบอกว่าเกิดอะไรขึ้นจะดูแลทุกอย่าง แต่พอเกิดจริงๆ กลับไม่ได้ดูแล ตรงนี้ทำให้เราคิดหนัก ผมหายป่วยกลับมาก็โดนหมาย พ.ร.ก. (ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548) เมื่อปีที่แล้ว ถูกจับอยู่ 6 วัน ออกมาได้ผมก็เลยหนีไปมาเลย์ ตอนหลังผมได้แฟน และแฟนก็ท้องด้วย ก็เลยเห็นใจเขาและอยากเลิกทำงานให้ขบวนการเสียที"

นอกจากผลกระทบที่เกิดกับครอบครัวแล้ว สิ่งที่ทั้ง "มะนาวี" และ "บักรี" พูดออกมาตรงกันก็คือ ความรู้สึกของพวกเขาที่เหมือนถูกขบวนการหักหลังและหลอกใช้

"ใครถูกจับ ขบวนการบอกว่าเท่ากับไปพักผ่อน ไม่ต้องทำอะไร แต่ใครล่ะจะอยากพักผ่อนแบบนี้ และตลอดมาขบวนการไม่เคยช่วยเหลืออะไรเลย" มะนาวี ระบุ

ขณะที่ "บักรี" ตั้งคำถามว่า ไหนบอกทำเพื่อศาสนา เคยถามคนในขบวนการด้วยกันว่าเพื่อศาสนาอย่างไร ให้พาคนที่เหนือกว่ามาคุยก็ตอบไม่ได้ ที่สำคัญพรรคพวกที่ติดคุก กลับบอกให้ไปพักผ่อน ทั้งๆ ที่คุกมันไม่ใช่สถานที่พักผ่อน

"การกระทำของเราไม่ได้ยกระดับความเป็นอยู่ของชาวบ้าน วางระเบิดตูม ชาวบ้านกรีดยางไม่ได้ 2 อาทิตย์ แล้วเราได้อะไร เราเองก็ไม่ได้อะไร ชาวบ้านก็ไม่ได้ ถ้าเราไม่ระเบิด ไม่ยิง ชาวบ้านก็กรีดยางได้" บักรี บอกพร้อมกับบทสรุปในความคิดของเขา

"ที่ขบวนการเคยบอกพวกเรามันไม่จริงสักอย่าง แล้วผมจะพาลูกน้องไปไหน ขบวนการจะพาเราไปที่ไหน เราจะรบไปถึงเมื่อไหร่ และสุดท้ายคงไม่พ้นถูกจับ ถ้าไม่ถูกจับก็ตาย"

ด้วยเหตุผลดังว่านี้เองที่ทำให้ "มะนาวี" และ "บักรี" กับเพื่อนๆ อีกราว 80 ชีวิตซึ่งฝ่ายความมั่นคงจัดกลุ่มพวกเขาว่าเป็น "นักรบ" ในฐานะผู้ที่คิดเห็นแตกต่างจากรัฐ พร้อมใจกันออกมาแสดงตัวและพบปะกับ พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 ที่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส เมื่อวันอังคารที่ 11 ก.ย.2555 เพื่อพูดคุยถึงแนวทางในการกลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุขหลังวางปืน

แน่นอนว่าสิ่งที่เป็นความปรารถนาขั้นพื้นฐานก็คือ ให้รัฐถอนหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และหมายจับตาม ป.วิอาญา (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา) ดูแลความปลอดภัยหลังจากออกจากป่ากลับบ้านไปอยู่กับครอบครัวแล้ว และหางานให้ ทำ

อย่างไรก็ดี นั่นเป็นเพียงความรู้สึกจาก "นักรบอาร์เคเค" วัยไม่ถึง 30 ปีที่โดนเพียงหมาย พ.ร.ก. แต่สำหรับอดีตนักต่อสู้ผู้สูงวัยกว่าและผ่านเรื่องร้ายๆ มามากกว่านั้นอย่าง อับดุลรอซะ การ์เด ซึ่งถูกจับกุมในคดีความมั่นคงหลายคดี และใช้ชีวิตในเรือนจำมานานกว่า 3 ปี เขาย่อมมีข้อเสนอในใจมากกว่า "มะนาวี" กับ "บักรี" เป็นแน่

"ในสามจังหวัด สิ่งที่ต้องมาอันดับต้นๆ คือความจริงใจ รัฐต้องจริงใจก่อน ทุกคนพอถึงจุดนี้ต้องการความยุติธรรม ผมติดคุกมาแล้ว ผมเชื่อว่ากระบวนการยุติธรรมมีจริง แต่ปัญหาอยู่ในช่วงก่อนจะถึงกระบวนการยุติธรรม นั่นก็คือกระบวนการสรรหาพยานหลักฐานว่ามีความยุติธรรมหรือไม่ มีการใส่ร้ายหรืออาศัยเพียงคำซัดทอดหรือเปล่า"

"ผมได้พิสูจน์แล้วว่าถ้าคดีถึงศาล ศาลมีความยุติธรรมจริง ศาลพิจารณาตามพยานหลักฐาน ฉะนั้นปัจจัยของความเป็นธรรมคือกระบวนการก่อนถึงศาลยุติธรรม"

เขาขยายความอีกว่า หลายคดีเจ้าหน้าที่มีแค่คำซัดทอดก็ออกหมายจับ เมื่อออกหมายแล้วก็ต้องจบด้วยการจับ อายุความ 20 ปี ทำให้คนที่ถูกออกหมายหนีไปมาเลย์ เพราะจะไปจ้างทนายก็ไม่มีเงิน แต่ข่าวออกว่าหนีไปกบดาน

"พอเกิดเหตุปุ๊บ ชื่อออกมาแล้วว่าคนโน้นทำ คนนี้สั่งการ สังคมสื่อเขาแย่งกันขายข่าว แต่คนที่อ้างถึงไม่มีพื้นที่ที่จะชี้แจง"

อับดุลรอซะให้น้ำหนักกับเรื่องความเป็นธรรมเป็นพิเศษ เพราะเขาถูกจับกุมดำเนินคดีไม่ต่ำกว่า 5 คดี ทั้งในพื้นที่ อ.แว้ง อ.สุไหงปาดี และ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส แต่สุดท้ายศาลยกฟ้องหมด เขาเพิ่งได้อิสรภาพเมื่อ 2 เดือนเศษที่ผ่านมา โดยระหว่างอยู่ในเรือนจำ เขาได้รับการยอมรับเสมือนหนึ่ง "ผู้นำ" และเคยเป็นตัวแทนเจรจากับเจ้าหน้าที่รัฐเมื่อครั้งจลาจลในเรือนจำนราธิวาส เมื่อปีก่อน

3 ปีในเรือนจำเปลี่ยนแปลงความคิดของอับดุลรอซะไปมากทีเดียว...

"เราต้องพลัดพรากจากครอบครัว ทุกคนต้องเอาครอบครัวไว้ก่อน เมื่อมีครอบครัวก็ต้องมีงานทำ ฉะนั้นเราจะอยู่แบบเดิมๆ ไม่ได้ ถ้าให้เรากลับไปอยู่ในสังคม สิ่งที่ต้องการมากที่สุดคือความปลอดภัย ไม่ได้ต้องการ 100% แต่ถ้าเรามีปัญหาอะไรต้องได้พูดคุย และต้องได้รับการตอบรับที่ดี อีกเรื่องคืออาชีพการงาน อย่างผม 3 ปีที่ผ่านมา คดียกฟ้องไปหมด แต่ถามว่ากระบวนการที่พลาดพลั้งไปนี้ ผมจะได้อะไร"

อับดุลรอซะ ยังฝากไปถึงระดับนโยบายที่แก้ไขปัญหาภาคใต้กันมา 7 รัฐบาลแล้วแต่ยังไม่ดีขึ้น

"ที่ผ่านมานโยบายรัฐบาลมาทีก็เปลี่ยนที ทั้งๆ ที่เราทำโครงการต้องมีความต่อเนื่อง แต่นี่รัฐบาลโน้นการเมืองนำการทหาร รัฐบาลนี้ทหารนำการเมือง ทหารเองก็เหมือนกัน พอนายเปลี่ยนคนก็เปลี่ยนนโยบาย ฉะนั้นกว่าจะเริ่มทำงานได้ก็สาย ก็ตามฝ่ายขบวนการอีกก้าว"

"สิ่งที่อยากเห็นก็คือรัฐบาลเปลี่ยน ไม่มีปัญหา แต่นโยบายต้องสอดคล้องกับที่ตั้งต้นมา ใครจะเป็นนายกฯ เป็นแม่ทัพไม่มีปัญหา แต่นโยบายเป็นอย่างไรต้องเป็นอย่างนั้น ว่ากันตรงๆ"

อับดุลรอซะ คาดหวังว่า การพบปะกับแม่ทัพภาค 4 เมื่อวันที่ 11 ก.ย.จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เป็นนิมิตหมายที่จะนำพาสถานการณ์กลับสู่ความสันติ

‘เจ๊ะอาลี’มอบตัวสู้คดีป่วนใต้แกนนำค่าหัว1ล้านพร้อม100แนวร่วมร่อนจม.เรียกร้องรัฐเดินหน้าสู่สันติภาพ

เมื่อวันที่ 11 กันยายน พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีแนวร่วมผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มอาร์เคเค 80 คน เข้าพบ พล.ท.อุดมชัยธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ 4 โดย มีเงื่อนไขยอมวางอาวุธหากได้รับประกันความปลอดภัยในชีวิตและจัดหางานเพื่อ ประกอบอาชีพ ว่า ถือเป็นหนทางที่ดีในการเปิดการเจรจากันอย่างสันติ แม้กลุ่มที่เข้าพบไม่ใช่หน่วยปฏิบัติการทั้งหมด โดยนายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานเพื่อสันติชายแดนใต้ พิจารณาเรื่องนี้แล้ว ซึ่งจะหารือร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) และ รมว.ยุติธรรม
บิ๊กอ๊อดเผย RKK, มอบตัว มทภ.4
พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวต่อว่า ทางแม่ทัพภาคที่ 4 มีโครงการพาคนกลับบ้าน เพื่อให้ผู้ก่อความไม่สงบ เข้ามาเจรจากัน ซึ่งกลุ่มอาร์เคเค 80 คน ที่เข้าพบจะมีการหางานเพื่อประกอบอาชีพ ส่วนความผิดทางคดีอาญา ต้องดูว่าจะสามารถช่วยเหลือได้อย่างไรบ้าง
ผบ.ทบ.ไม่ค้านเลือกตั้งผู้ว่าฯ 3 จว.
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.กล่าวถึงกรณี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เสนอให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ว่า เป็นเรื่องของฝ่ายการเมือง ไม่คิดว่าถูกหรือผิด ต้องดูว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ ประชาชนในพื้นที่ต้องการอย่างไร ส่วนตนทำงานฝ่ายความมั่นคงคงต้องดูว่ามีผลดีหรือผลเสีย คุ้มหรือไม่ที่จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ตนไม่ได้ขัดแย้งกับรัฐบาล แต่เราต้องมีทุกมาตรการในการป้องกันเหตุร้าย
ชี้เห็นผลการทำงานโจรใต้มอบตัว
ต่อข้อถามกรณีกลุ่มอาร์เคเค 80 คน เข้ามอบตัวกับแม่ทัพภาคที่ 4 พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เป็นความก้าวหน้าที่เราทำงานแต่ไม่สามารถพูดได้ก่อน เรามีการติดต่อและพยายามพูดคุยกันมาตลอด ภาคประชาสัมคม พ่อ แม่ ญาติพี่น้องเขามีอยู่ กองทัพเปิดโอกาสให้ตลอด ขึ้นอยู่กับรัฐว่าจะสามารถดูแลผู้ก่อความไม่สงบเหล่านี้ได้มากน้อยแค่ไหน อีกประการ คือ เขาเห็นความโหดร้ายของฝ่ายผู้ก่อเหตุ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย จึงมอบตัว ส่วนอีกฝ่ายก็คงพยายามไม่ให้กลุ่มคนเหล่านี้มอบตัว เขาจึงใช้ความรุนแรง วันนี้ถือเป็นความสำเร็จอีกก้าวหนึ่ง ซึ่งเรื่องอื่นๆ คงจะตามมา
อ้างตรวจชื่อแล้วล้วนเป็นตัวจริง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทั้ง 80 คน ที่มอบตัวเป็นตัวจริงหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า มีการตรวจสอบแล้ว ทั้งหมดมีรายชื่อในทำเนียบกำลังรบของผู้ก่อความไม่สงบที่กองทัพจัดทำขึ้น ก็ต้องมาพิสูจน์ความจริงใจต่อกัน ถ้าไม่ใช่กลุ่มคนเหล่านี้จะมาให้จับทำไม ยืนยันว่าเราทำงานตามหลักการ ตรวจสอบละเอียดว่าคนเหล่านี้ทำไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่ ถูกหลอกจริงหรือไม่ ทุกอย่างต้องตรวจสอบก่อนเข้าสู่กระบวนการแก้ปัญหา
แกนนำโจร-พวก 100 คนมอบตัว
เวลา 13.30 น.ที่ สำนักงานคณะกรรมการอิสลาม จ.นราธิวาส พล.ท.อุดมชัย เป็นประธานรับการแสดงตัวยืนยันเพื่อยุติการต่อสู้ของนายแวอาลีคอปเตอร์ วาจิ หรือ เจ๊ะ อาลีที่ทางการเคยตั้งรางวัลนำจับ 1 ล้านบาท โดยพบว่าเป็นตัวการวางแผนและสั่งการให้แกนนำระดับปฏิบัติการนำกำลังเข้าปล้นปืนที่กองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 จนมีทหารเสียชีวิต 4 นาย ซึ่งนายแวอาลีคอปเตอร์ ได้นำผู้หลงผิด 100 คน เข้าร่วมเป็นผู้พัฒนาชาติไทย ตามแผนพาคนกลับบ้าน โครงการประสานใจเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

Misteri bendera Jalur Gemilang dinaikkan di Selatan Thai

PATTANI, Thailand - Kumpulan pemberontak disyaki membakar beberapa helai bendera Thailand dan menaikkan bendera Malaysia di sini dalam satu operasi pengeboman terancang yang amat jarang berlaku di kawasan selatan negara ini semalam. Menurut polis, alat seperti bom ditemui di sekurang-kurangnya 60 lokasi di Narathiwat dan Pattani, wilayah yang majoritinya terdiri daripada penganut Islam.
 
Kebanyakan alat itu adalah palsu, tetapi hampir 12 unit daripadanya meletup dan mencederakan enam orang tentera.

Pegawai Operasi Keselamatan Dalaman Selatan, Pramote Prom-in memberitahu tindakan memasang bendera Malaysia dengan bahan letupan itu bertujuan menunjukkan penentangan terhadap kerajaan Thailand dan mencipta ketegangan dengan Malaysia. Beliau meminta supaya kerajaan bertindak tegas sambil menyatakan serangan tersebut tidak memberi kesan terhadap hubungan di antara Bangkok dan Kuala Lumpur.

Masih tidak jelas kenapa bendera Malaysia dinaikkan oleh kumpulan pemberontak itu. Bendera tersebut dipasang di sepanjang jalan, tiang elektrik, pokok dan laluan pejalan kaki di wilayah Yala, Pattani, Narathiwat dan Songkhla. Para penganalisis menyatakan militan mahukan sebuah negara yang merdeka, tetapi tidak pernah menunjukkan minat mahu menjadi sebahagian daripada Malaysia.

Penyelidik kanan Pemantau Hak Asasi Manusia yang berpangkalan di New York, Sunai Phasuk mengakui bahawa motif pemberontak menaikkan bendera Malaysia masih misteri. Kumpulan pemisah dikatakan mula muncul sejak Januari 2004. Sejak itu, seramai 5,206 terbunuh dan 9,137 lagi cedera dalam banyak siri serangan. - Agensi Anda mungkin juga meminati:

Patani Ambranews 

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Tentera senarai 10,000 orang

BANGKOK 25 Ogos - Kira-kira 10,000 orang termasuk ahli politik, guru besar dan pemimpin agama dinamakan sebagai sebahagian daripada rangkaian pemberontak di wilayah selatan negara ini, dalam buku nota terbaru yang dilancarkan oleh tentera.
 
Nama-nama yang di senarai hitam itu diterbitkan dalam dua buah buku dikenali sebagai Perintah Pertempuran.

Buku nota pertama itu menerangkan struktur rangkaian pemberontak termasuklah gerakan pemisah, kumpulan pemisah lama di wilayah tersebut dan mereka yang mempunyai kaitan dengan pemberontak.

Buku nota kedua mengenal pasti nama-nama pemimpin dan kumpulan mereka di setiap kampung dan daerah di Yala, Pattani, Narathiwat dan empat daerah di Songkhla.

Senarai setebal 500 muka surat itu menyenaraikan nama 9,692 orang yang terlibat dalam rangkaian pemberontak.

Daripada jumlah itu, 4,116 orang dari Narathiwat, (3,183) Pattani, (3,183) Yala (2,059) dan 334 orang di empat daerah di Songkhla.

Seramai 886 orang daripada mereka pula dikenakan waran tangkap.

''Jumlah pemimpin dan pengikut mereka meningkat dalam angka ratusan, menjadikan lebih 10,000 orang sekarang. Buku nota ini dikemas kini setiap tahun,'' kata sumber tentera.

Buku nota itu menyatakan pertubuhan asas rangkaian pemberontak dikenali sebagai Dewan Pimpinan Usat (DPP) yang terdiri daripada 20 tokoh.

Bagaimanapun, buku nota tersebut tidak menamakan siapa pengerusi DPP. - AGENSI

วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ศาลมาเลย์ยกฟ้อง 3 มือระเบิด บททดสอบความร่วมมือไทย-มาเลเซียดับไฟใต้

แม้มีการคาดการณ์หรือกล่าวหากันอยู่บ่อยครั้งว่า ขบวนการต่อต้านรัฐในภาคใต้ของไทยใช้มาเลเซียเป็นฐานในการวางแผนก่อเหตุรุนแรง แต่ก็ยังไม่มีการจับกุมกันอย่างคาหนังคาเขา ตราบจนกระทั่งในปี 2552 ที่ตำรวจมาเลเซียได้เข้ารวบตัวชายมุสลิม 3 คนจากนราธิวาสได้ที่บ้านพักแห่งหนึ่งใกล้ชายแดนไทย – มาเลเซีย


การดำเนินคดีกับทั้งสามคนเป็นประเด็นที่น่าจับตามอง เพราะจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียในการร่วมมือกับดับไฟใต้ได้อย่างดี
 
คดีนี้เริ่มต้นจากเหตุการณ์ในวันที่ 14 ธันวาคม 2552 เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกรมสอบสวนอาชญากรรมในรัฐกลันตัน (Kelantan Criminal Investigation Department) บุกเข้าตรวจค้นและจับกุมผู้ต้องสงสัยที่คาดว่ามีสารเสพติดในครอบครองภายในบ้านเช่าในหมู่บ้านเกเบง อำเภอปาเซร์มัส ประเทศมาเลเซียพร้อมสื่อมวลชน แต่เมื่อเข้าจับกุมกลับพบอุปกรณ์ประกอบระเบิดจำนวนมาก ได้แก่ ไดนาไมต์จำนวน 160 แท่ง กล่องโลหะ ถังดับเพลิง สารแอมโมเนียมไนเตรท โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์รีโมทคอนโทรล และกระสุนกว่า 248 นัด
 
ชายมุสลิมสัญชาติไทยทั้ง 3 คนที่อยู่ในบ้านหลังนั้น คือ นายมามะคอยรี สือแม นายมูฮัมหมัดซิดี อาลี และนายมะยูไน เจ๊ะดอเลาะ ทั้ง 3 คนถูกศาลมาเลเซียตัดสินลงโทษจำคุก 10 เดือนและโบย 3 ครั้งในข้อหาหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย จากนั้นก็ถูกดำเนินคดีฐานมีเครื่องกระสุนและวัตถุระเบิดไว้ในครอบครอง ซึ่งเป็นคดีที่ทางการไทยเฝ้าติดตามมาโดยตลอด
 
ผู้ต้องหาคดีนี้เป็นใคร
 
นายมามะคอยรี เป็นผู้ต้องหา 1 ใน 7 คนที่ถูกจับกุมในโรงเรียนอิสลามบูรพา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2550 หลังเจ้าหน้าที่บุกเข้าตรวจค้นโรงเรียนและพบอุปกรณ์ประกอบระเบิดจำนวนมาก
 
ต่อมาระหว่างถูกคุมขัง มามะคอยรีได้แจ้งเจ้าหน้าที่เรือนจำว่า ตนเองป่วยและขอไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ แม้ว่าเขาจะถูกล่ามโซ่ไว้กับเตียงคนไข้ในโรงพยาบาล แต่มามะคอยรีก็ยังสามารถหาวิธีหลบหนีไปได้สำเร็จ ชื่อของเขาก็ปรากฏขึ้นอีกครั้ง เมื่อถูกตำรวจมาเลเซียจับกุมตัวที่บ้านเช่าหลังนั้น
 
ในขณะที่มามะคอยรีถูกควบคุมตัว และถูกศาลมาเลเซียพิจารณาคดีอยู่นั้น จำเลยอีก 6 คนที่ถูกจับกุมพร้อมกับเขาที่โรงเรียนอิสลามบูรพาได้ถูกศาลจังหวัดนราธิวาสพิพากษาลงโทษประหารชีวิตไป 5 คน ส่วนอีกหนึ่งคนให้จำคุก 27 ปี โดยข้อหาที่ร้ายแรงที่สุดคือความผิดฐานร่วมกันก่อการร้ายและเป็นซ่องโจร โดยศาลเห็นว่าเป็นการกระทำที่ “เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศชาติและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม”
 
หากนายมามะคอยรีถูกนำตัวกลับมายังประเทศไทยก็จะต้องถูกดำเนินคดีเช่นกัน
 
ส่วนนายมูฮัมหมัดซิดี เคยถูกออกหมายจับตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548) ข้อมูลของตำรวจระบุว่า เขาเป็นมือระเบิดในพื้นที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ส่วนนายมะยูไนไม่พบประวัติในฐานข้อมูล
 
คำพิพากษาของศาลมาเลเซีย
 
หลังจากทั้ง 3 คนถูกตำรวจมาเลเซียจับกุม วันที่ 27 ธันวาคม 2552 ทางการมาเลเซียได้นำผู้ต้องหาทั้ง 3 คนไปยังศาลแผนกคดีอาญา ศาสปาเสมัส อ.ปาเสมัส รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซียเพื่อทำการไต่สวน แต่ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ศาลจึงเลื่อนการไต่สวนออกไป
 
การพิจารณาคดีว่างเว้นไปนาน จนกระทั่งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555 ศาลมาเลเซียจึงได้ทำการไต่สวนและตัดสินว่า ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะระบุได้ว่า นายมูฮัมหมัดซิดีและนายมะยูไนมีส่วนเกี่ยวข้องในการครอบครองวัตถุระเบิดศาลจึงมีคำสั่งให้ปล่อยตัวจำเลย 2 คนในชั้นของการไต่สวน โดยให้เหตุผลว่า อัยการไม่สามารถที่จะหาหลักฐานเบื้องต้นมาชี้มูลผูกมัดจำเลยทั้งสองได้ จำเลยเพียงมาเยี่ยมเยียนเพื่อนเท่านั้น
 
ในเอกสารของทางการไทยที่บันทึกคำสั่งศาลปาเสมัสในวันนั้น ระบุว่า เจ้าของบ้านได้ให้การว่า จำหน้าจำเลยสองคนนี้ไม่ได้ และจำเลยให้การว่า มาเยี่ยมเพียงหนึ่งวันและจะเดินทางกลับ นอกจากนี้ของกลางได้ถูกเก็บไว้ที่ใต้ถุนบันไดและหลังประตูในห้องของบ้านหลังดังกล่าว ซึ่งแขกคงจะไม่ได้เข้าไปในบริเวณนั้นซึ่งอยู่ลึกเข้าไป
         
คดีนี้จึงมีมามะคอยรีคนเดียวที่เป็นจำเลย โดยในวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 ศาลสูงโกตาบารูได้พิพากษาให้ยกฟ้อง โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของไทยที่ไปนั่งฟังคำพิพากษาด้วย เล่าว่า นายมามะคอยรีอ้างกับศาลว่า เหตุที่ตนหลบหนีออกจากโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ และเดินทางเข้าไปยังประเทศมาเลเซียนั้น ก็เนื่องจากมีอาการปวดหลังและปวดท้องจากการถูกซ้อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่ของไทย และได้มาพักอาศัยที่บ้านเพื่อนในมาเลเซีย ซึ่งเพื่อนคนดังกล่าวเป็นบ้านของนายอัมรานซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ยิงเสียชีวิตที่ จ.นราธิวาสไปก่อนหน้านี้ ศาลเห็นว่านายมามะคอยรี เพียงมาอาศัยพักพิงและไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัตถุระเบิดและอาวุธที่พบในบ้านดังกล่าว
         
เจ้าหน้าที่ความมั่นคงของไทย ระบุว่าคำพิพากษานี้ทำให้ทางการไทย “ผิดหวังมาก” หากจำเลยทั้งสามได้รับการลงโทษ ก็จะแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนที่จะไม่สนับสนุนและให้ที่พักพิงแก่กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงที่หลบหนีเข้าไปยังมาเลเซีย ซึ่งน่าจะส่งผลโดยตรงต่อการปฏิบัติการของกลุ่มที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ในชายแดนใต้
 
เจ้าหน้าที่คนเดิม ชี้ว่า การดำเนินการในเรื่องนี้ ทางมาเลเซียเองจะต้องดูประเด็นเรื่องการเมืองภายในประเทศด้วย เพราะว่าทั้งพรรค UMNO ซึ่งคุมรัฐบาลกลางอยู่และพรรค PAS ซึ่งคุมรัฐบาลท้องถิ่นในรัฐกลันตัน ต่างก็ต้องการแย่งฐานคะแนนเสียงของคนมุสลิม และไม่ต้องการที่จะดำเนินการใดๆ ที่มีความเสี่ยงที่จะกระทบต่อฐานเสียงของตัวเองได้ คนมลายูในภาคใต้ของไทยกับตอนเหนือของมาเลเซียมีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติและร่วมชาติพันธุ์กัน ดังนั้น จึงมีแนวโน้มที่จะช่วยเหลือกัน คนมาเลเซียมองว่า การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชไม่ใช่การก่อการร้าย
 
การส่งผู้ร้ายข้ามแดน
 
นอกจากจะผิดหวังกับคำพิพากษาแล้ว ทางการไทยยังผิดหวังกับความไม่ร่วมมือของทางการมาเลเซียในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนด้วย เจ้าหน้าที่ความมั่นคงอธิบายว่า การส่งกลับนั้นทำได้ 2 ทาง คือ หนึ่ง เป็นการส่งกลับด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งยังคงมีข้อถกเถียงในเชิงกฎหมายว่าไทยกับมาเลเซียนั้นมีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน (Extradition Treaty) ระหว่างกันหรือไม่ ไทยชี้แจงว่า มีโดยการอ้างสนธิสัญญาที่เคยทำไว้กับอังกฤษซึ่งเคยเป็นเจ้าอาณานิคมของมาเลเซีย แต่ฝ่ายมาเลเซียถือว่าไม่มีผลบังคับใช้แล้ว วิธีที่สองคือการผลักดันกลับฐานเข้าเมืองผิดกฎหมาย
 
เจ้าหน้าที่ความมั่นคงไทยเล่าว่า ทางการไทยส่งคนไปเฝ้าถามทุกวันว่าจะมีการปล่อยตัวจำเลยเมื่อใด แต่ก็ไม่เคยได้รับคำตอบจากทางการมาเลเซีย
 
“เขาจงใจปกปิด” เจ้าหน้าที่คนเดิมกล่าว
 
ฝ่ายทหารเองก็พยายามที่จะใช้ความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพในการขอให้ส่งตัวกลับมา นายมูฮัมหมัดซิดีและนายมะยูไน ได้ถูกปล่อยตัวที่บริเวณชายแดนในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมาโดยทางการไทยไม่ได้รับทราบ ส่วนนายมามะคอยรี หลังจากศาลได้ยกฟ้องและสั่งปล่อยตัว เจ้าหน้าที่มาเลเซียได้นำไปควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจที่ปาเสร์มัส รัฐกลันตัน ปัจจุบันไม่แน่ชัดว่าทั้งสามคนอยู่ที่ใด

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ผู้นำศาสนาและชาวบ้านร่วมละหมาดฮายัต เพื่อนำสันติสุขคืนสู่พื้นที่อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

 วันนี้ (๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๕) เวลา ๐๙.๐๐ น. ที่ หน้าบริเวณที่ว่าการอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี นายพิศาล อาแว นายอำเภอมายอ พร้อมด้วย ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจปัตตานีที่ ๒๕ และผู้นำศาสนาในพื้นที่อำเภอมายอ รวมถึงประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวนกว่า ๕๐๐ คน ได้ร่วมกันทำพิธีทางศาสนาละหมาดฮายัตขอพรต่อเอกองค์อัลเลาะห์ ให้ในเขตพื้นที่อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี และทุกพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดความสงบสุขและไม่มีเหตุการณ์ที่รุนแรงเกิดขึ้น เพื่อนำพาความสันติสุขกลับคืนสู่พื้นที่อีกครั้ง หลังจากเกิดเหตุกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงไล่ยิงเจ้าหน้าที่ทหารหน่วยเฉพาะกิจปัตตานี บนถนนสายปาลัส-มายอ เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา 
      สำหรับการละหมาดฮายัตนั้น ชาวมุสลิมจะละหมาดขอพรต่ออัลเลาะห์ ต่อเมื่อมีจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่ง แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นสิ่งที่ดี และไม่ผิดหลักธรรมคำสอนของศาสนา และขอให้พระองค์ได้ทรงโปรดดลบันดาลให้ได้รับผลสำเร็จสมความมุ่งหมาย ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว เจ้าหน้าที่จากหน่วยเฉพาะกิจปัตตานีที่ ๒๕ได้เข้ามาอำนวยความสะดวกและดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ประชาชนในพื้นที่
      นายสะมะแอ มาแย ประธานอิหม่ามอำเภอมายอ จังหวัดปัตตานีกล่าวว่า เดือนนี้ถือว่าเป็นเดือนอันประเสริฐ ในการสร้างผลบุญอันยิ่งใหญ่ จากการประกอบศาสนกิจ อาทิ การละหมาด การอ่านอัลกุรอาน การถือศีลอด และการสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าหรืออัลเลาะห์ เพื่อเป็นการสร้างผลบุญในการถือศีลอดให้ได้มากที่สุด ซึ่งผู้ถือศีลอดจะไม่กระทำผิดหรือทำบาปใด ๆ ทั้งสิ้น โดยเฉพาะการฆ่าคน หรือฆ่าสัตว์ต่าง ๆ ดังนั้นในทางหลักคำสอนของศาสนาอิสลามแล้ว ตนและประชาชนในพื้นที่จึงไม่เห็นด้วยกับการกระทำของกลุ่มผู้ก่อเหตุดังกล่าว ที่ได้ใช้โอกาสในเดือนถือศีลอดนี้เข้ามาก่อเหตุการณ์ในพื้นที่
      ทางด้าน พลโท อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ แม่ทัพภาคที่ ๔/ผู้อำนวยการรักษาความมั่งคงภายในภาค ๔ กล่าวว่า การปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินเป็นภารกิจหลักที่เจ้าหน้าที่ทหารจะต้องดูแลพื้นที่อย่างกว้างขวาง ซึ่งบางครั้งอาจจะล่อแหลมบ้าง แต่เราก็พยายามจะปรับตัว ปรับรูปแบบในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชนให้มีความปลอดภัยมากขึ้น และทางกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า พร้อมที่จะดำเนินการทุกอย่าง เพื่อให้เกิดความสงบสุขขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเป็นหลัก จึงอยากขอให้ประชาชนเชื่อมั่น และมีความมั่นใจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐเองก็จะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ต่อไป

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

RKK siapa sebenar nya

Siapakah yang tak tahu dan tak pernah dengar dengan sebutan RKK? Bagi para tentara Siam sebutan RKK merupakan hantu yang sangat-sangat menakutkan, laksana duri tajam dan sembilu halus yang menghiris jantung hati, sepanjang siang dan malam, sampai-sampai hebatnya rasa takut itu dalam hati mareka, melahirkan rasa cemas dan stres, malahan menjadi jalan pendek bagi mareka untuk meakhiri hidup sebagai tentara, dengan cara meminum obat hilang stres, dan yang hebat dengan cara bunuh diri, yang dahsyat mengeluarkan nafsu setan mareka, dengan cara menembak orang-orang kampung yang ada di jalan-jalan, juga di kedai-kedai tempat keramaian orang Melayu.

RKK, apatah sebutnya lagi, komando pejuang Patani, pasukan khusus, kumpulan bersenjata tak berrupa, kelompok pejuang tak berwajah, resimen komando khusus, pengacau bersenjata dan macam-macam sebutannya, umum RKK diterjemahkan dengan “runda kumpulan kecil” dengan bahasa barat menyebut “small group patrol” atau “small unit special force Patani guerilla” macam-macam masyarakat menyebut di dalam keadaan Perang Patani sekarang.

Pada isinya, RKK itu adalah pasukan para pejuang Bangsa Melayu Patani yang bercita-cita dengan hakikat kemanusiaan pada umum, yaitu mahu merdeka tanah air sendiri yang telah dijajah oleh Bangsa Siam, mareka angkat senjata dengan bertempur di sana sini, dengan lawanya bermacam-macam pasukan Siam di Bumi Patani Kita, dengan taktik gerilya yang layak pada letak bumi Patani, sampai-sampai pengamat perang dunia menjadi terpukau terhadap tindakan mareka, yang karena berani dan lain daripada yang lain.

Yang lebih teruk lagi, adalah bagi Panglima Perang Siam itu sendiri, semenjak tahun 2004 M., hitungan berkali-kali Panglima Perang Siam bergangti kursi, dari yang paling cerdik sampai kepada Panglima yang sangat cerdik, silih naik gangti kursi berperang dengan pasukan pejuang Patani, akan tetapi Natijah yang keluar adalah gagal berperang dengan sebutan RKK, sungguh ambang ufuk fajar kekalahan Siam sedikit dapat terbayangkan, al-hamdulilah.

Sekira kedepan nanti, ada tambahan pasukan baru yang dilahirkan oleh para-para pejuang kemerdekaan Bangsa Melayu Patani, seperti PPK (pasukan pukul kilat), BKH (Pasukan komando Hitam), PTS (pasukan tembak satu), REKAL (Resimen Komando Ayah Long) dan lain-lain lagi yang dapat ditumbuhkan, takkan lagi itu akan itu membuat Ufuk fajar kekalahan Siam semakin terbuka terang, tentu saja akan menjadi sorot-surai dunia pada Bangsa Siam dan Bangsa Patani yang sedang berjuang dengan perang adil.

Sangat ta’jub dan riyoh bagi seluruh angkatan Perang Bangsa Siam di Bumi Patani dan seluruh penjuru bumi Siam, tak kala Markas Tentara mareka yang bertapak di Bannara, diserbu dan diambil senjata mentah-mentah lebih daripada 500 laras, baik senjata kelas ringan dan berat, sekali-kali ramai orang Melayu Patani tak percaya, malahan bagi Panglima Siam sendiri pun tak percaya, tetapi perlu kita ingat, bahwa hal-hal yang tidak memungkinkan menjadi lebih mungkin, sebab hidup di dunia ini tidak ada yang tidak mungkin, selalu silih bergangti, gajah yang berrupa besar dan perkasa pun dapat dikalahkan dengan mudah, hanya oleh sebilah lembing kecil kepunyaan pengembala gajah, itu lah kehidupan di dunia ini, yang nampak lemah dan kecil bolih mengalahkan yang besar dan perkasa.