วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Tentera senarai 10,000 orang

BANGKOK 25 Ogos - Kira-kira 10,000 orang termasuk ahli politik, guru besar dan pemimpin agama dinamakan sebagai sebahagian daripada rangkaian pemberontak di wilayah selatan negara ini, dalam buku nota terbaru yang dilancarkan oleh tentera.
 
Nama-nama yang di senarai hitam itu diterbitkan dalam dua buah buku dikenali sebagai Perintah Pertempuran.

Buku nota pertama itu menerangkan struktur rangkaian pemberontak termasuklah gerakan pemisah, kumpulan pemisah lama di wilayah tersebut dan mereka yang mempunyai kaitan dengan pemberontak.

Buku nota kedua mengenal pasti nama-nama pemimpin dan kumpulan mereka di setiap kampung dan daerah di Yala, Pattani, Narathiwat dan empat daerah di Songkhla.

Senarai setebal 500 muka surat itu menyenaraikan nama 9,692 orang yang terlibat dalam rangkaian pemberontak.

Daripada jumlah itu, 4,116 orang dari Narathiwat, (3,183) Pattani, (3,183) Yala (2,059) dan 334 orang di empat daerah di Songkhla.

Seramai 886 orang daripada mereka pula dikenakan waran tangkap.

''Jumlah pemimpin dan pengikut mereka meningkat dalam angka ratusan, menjadikan lebih 10,000 orang sekarang. Buku nota ini dikemas kini setiap tahun,'' kata sumber tentera.

Buku nota itu menyatakan pertubuhan asas rangkaian pemberontak dikenali sebagai Dewan Pimpinan Usat (DPP) yang terdiri daripada 20 tokoh.

Bagaimanapun, buku nota tersebut tidak menamakan siapa pengerusi DPP. - AGENSI

วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ศาลมาเลย์ยกฟ้อง 3 มือระเบิด บททดสอบความร่วมมือไทย-มาเลเซียดับไฟใต้

แม้มีการคาดการณ์หรือกล่าวหากันอยู่บ่อยครั้งว่า ขบวนการต่อต้านรัฐในภาคใต้ของไทยใช้มาเลเซียเป็นฐานในการวางแผนก่อเหตุรุนแรง แต่ก็ยังไม่มีการจับกุมกันอย่างคาหนังคาเขา ตราบจนกระทั่งในปี 2552 ที่ตำรวจมาเลเซียได้เข้ารวบตัวชายมุสลิม 3 คนจากนราธิวาสได้ที่บ้านพักแห่งหนึ่งใกล้ชายแดนไทย – มาเลเซีย


การดำเนินคดีกับทั้งสามคนเป็นประเด็นที่น่าจับตามอง เพราะจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียในการร่วมมือกับดับไฟใต้ได้อย่างดี
 
คดีนี้เริ่มต้นจากเหตุการณ์ในวันที่ 14 ธันวาคม 2552 เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกรมสอบสวนอาชญากรรมในรัฐกลันตัน (Kelantan Criminal Investigation Department) บุกเข้าตรวจค้นและจับกุมผู้ต้องสงสัยที่คาดว่ามีสารเสพติดในครอบครองภายในบ้านเช่าในหมู่บ้านเกเบง อำเภอปาเซร์มัส ประเทศมาเลเซียพร้อมสื่อมวลชน แต่เมื่อเข้าจับกุมกลับพบอุปกรณ์ประกอบระเบิดจำนวนมาก ได้แก่ ไดนาไมต์จำนวน 160 แท่ง กล่องโลหะ ถังดับเพลิง สารแอมโมเนียมไนเตรท โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์รีโมทคอนโทรล และกระสุนกว่า 248 นัด
 
ชายมุสลิมสัญชาติไทยทั้ง 3 คนที่อยู่ในบ้านหลังนั้น คือ นายมามะคอยรี สือแม นายมูฮัมหมัดซิดี อาลี และนายมะยูไน เจ๊ะดอเลาะ ทั้ง 3 คนถูกศาลมาเลเซียตัดสินลงโทษจำคุก 10 เดือนและโบย 3 ครั้งในข้อหาหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย จากนั้นก็ถูกดำเนินคดีฐานมีเครื่องกระสุนและวัตถุระเบิดไว้ในครอบครอง ซึ่งเป็นคดีที่ทางการไทยเฝ้าติดตามมาโดยตลอด
 
ผู้ต้องหาคดีนี้เป็นใคร
 
นายมามะคอยรี เป็นผู้ต้องหา 1 ใน 7 คนที่ถูกจับกุมในโรงเรียนอิสลามบูรพา อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2550 หลังเจ้าหน้าที่บุกเข้าตรวจค้นโรงเรียนและพบอุปกรณ์ประกอบระเบิดจำนวนมาก
 
ต่อมาระหว่างถูกคุมขัง มามะคอยรีได้แจ้งเจ้าหน้าที่เรือนจำว่า ตนเองป่วยและขอไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ แม้ว่าเขาจะถูกล่ามโซ่ไว้กับเตียงคนไข้ในโรงพยาบาล แต่มามะคอยรีก็ยังสามารถหาวิธีหลบหนีไปได้สำเร็จ ชื่อของเขาก็ปรากฏขึ้นอีกครั้ง เมื่อถูกตำรวจมาเลเซียจับกุมตัวที่บ้านเช่าหลังนั้น
 
ในขณะที่มามะคอยรีถูกควบคุมตัว และถูกศาลมาเลเซียพิจารณาคดีอยู่นั้น จำเลยอีก 6 คนที่ถูกจับกุมพร้อมกับเขาที่โรงเรียนอิสลามบูรพาได้ถูกศาลจังหวัดนราธิวาสพิพากษาลงโทษประหารชีวิตไป 5 คน ส่วนอีกหนึ่งคนให้จำคุก 27 ปี โดยข้อหาที่ร้ายแรงที่สุดคือความผิดฐานร่วมกันก่อการร้ายและเป็นซ่องโจร โดยศาลเห็นว่าเป็นการกระทำที่ “เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศชาติและส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม”
 
หากนายมามะคอยรีถูกนำตัวกลับมายังประเทศไทยก็จะต้องถูกดำเนินคดีเช่นกัน
 
ส่วนนายมูฮัมหมัดซิดี เคยถูกออกหมายจับตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ (พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548) ข้อมูลของตำรวจระบุว่า เขาเป็นมือระเบิดในพื้นที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ส่วนนายมะยูไนไม่พบประวัติในฐานข้อมูล
 
คำพิพากษาของศาลมาเลเซีย
 
หลังจากทั้ง 3 คนถูกตำรวจมาเลเซียจับกุม วันที่ 27 ธันวาคม 2552 ทางการมาเลเซียได้นำผู้ต้องหาทั้ง 3 คนไปยังศาลแผนกคดีอาญา ศาสปาเสมัส อ.ปาเสมัส รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซียเพื่อทำการไต่สวน แต่ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ศาลจึงเลื่อนการไต่สวนออกไป
 
การพิจารณาคดีว่างเว้นไปนาน จนกระทั่งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2555 ศาลมาเลเซียจึงได้ทำการไต่สวนและตัดสินว่า ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะระบุได้ว่า นายมูฮัมหมัดซิดีและนายมะยูไนมีส่วนเกี่ยวข้องในการครอบครองวัตถุระเบิดศาลจึงมีคำสั่งให้ปล่อยตัวจำเลย 2 คนในชั้นของการไต่สวน โดยให้เหตุผลว่า อัยการไม่สามารถที่จะหาหลักฐานเบื้องต้นมาชี้มูลผูกมัดจำเลยทั้งสองได้ จำเลยเพียงมาเยี่ยมเยียนเพื่อนเท่านั้น
 
ในเอกสารของทางการไทยที่บันทึกคำสั่งศาลปาเสมัสในวันนั้น ระบุว่า เจ้าของบ้านได้ให้การว่า จำหน้าจำเลยสองคนนี้ไม่ได้ และจำเลยให้การว่า มาเยี่ยมเพียงหนึ่งวันและจะเดินทางกลับ นอกจากนี้ของกลางได้ถูกเก็บไว้ที่ใต้ถุนบันไดและหลังประตูในห้องของบ้านหลังดังกล่าว ซึ่งแขกคงจะไม่ได้เข้าไปในบริเวณนั้นซึ่งอยู่ลึกเข้าไป
         
คดีนี้จึงมีมามะคอยรีคนเดียวที่เป็นจำเลย โดยในวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 ศาลสูงโกตาบารูได้พิพากษาให้ยกฟ้อง โดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของไทยที่ไปนั่งฟังคำพิพากษาด้วย เล่าว่า นายมามะคอยรีอ้างกับศาลว่า เหตุที่ตนหลบหนีออกจากโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ และเดินทางเข้าไปยังประเทศมาเลเซียนั้น ก็เนื่องจากมีอาการปวดหลังและปวดท้องจากการถูกซ้อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่ของไทย และได้มาพักอาศัยที่บ้านเพื่อนในมาเลเซีย ซึ่งเพื่อนคนดังกล่าวเป็นบ้านของนายอัมรานซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ยิงเสียชีวิตที่ จ.นราธิวาสไปก่อนหน้านี้ ศาลเห็นว่านายมามะคอยรี เพียงมาอาศัยพักพิงและไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัตถุระเบิดและอาวุธที่พบในบ้านดังกล่าว
         
เจ้าหน้าที่ความมั่นคงของไทย ระบุว่าคำพิพากษานี้ทำให้ทางการไทย “ผิดหวังมาก” หากจำเลยทั้งสามได้รับการลงโทษ ก็จะแสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์อย่างชัดเจนที่จะไม่สนับสนุนและให้ที่พักพิงแก่กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงที่หลบหนีเข้าไปยังมาเลเซีย ซึ่งน่าจะส่งผลโดยตรงต่อการปฏิบัติการของกลุ่มที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่ในชายแดนใต้
 
เจ้าหน้าที่คนเดิม ชี้ว่า การดำเนินการในเรื่องนี้ ทางมาเลเซียเองจะต้องดูประเด็นเรื่องการเมืองภายในประเทศด้วย เพราะว่าทั้งพรรค UMNO ซึ่งคุมรัฐบาลกลางอยู่และพรรค PAS ซึ่งคุมรัฐบาลท้องถิ่นในรัฐกลันตัน ต่างก็ต้องการแย่งฐานคะแนนเสียงของคนมุสลิม และไม่ต้องการที่จะดำเนินการใดๆ ที่มีความเสี่ยงที่จะกระทบต่อฐานเสียงของตัวเองได้ คนมลายูในภาคใต้ของไทยกับตอนเหนือของมาเลเซียมีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติและร่วมชาติพันธุ์กัน ดังนั้น จึงมีแนวโน้มที่จะช่วยเหลือกัน คนมาเลเซียมองว่า การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชไม่ใช่การก่อการร้าย
 
การส่งผู้ร้ายข้ามแดน
 
นอกจากจะผิดหวังกับคำพิพากษาแล้ว ทางการไทยยังผิดหวังกับความไม่ร่วมมือของทางการมาเลเซียในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนด้วย เจ้าหน้าที่ความมั่นคงอธิบายว่า การส่งกลับนั้นทำได้ 2 ทาง คือ หนึ่ง เป็นการส่งกลับด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งยังคงมีข้อถกเถียงในเชิงกฎหมายว่าไทยกับมาเลเซียนั้นมีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน (Extradition Treaty) ระหว่างกันหรือไม่ ไทยชี้แจงว่า มีโดยการอ้างสนธิสัญญาที่เคยทำไว้กับอังกฤษซึ่งเคยเป็นเจ้าอาณานิคมของมาเลเซีย แต่ฝ่ายมาเลเซียถือว่าไม่มีผลบังคับใช้แล้ว วิธีที่สองคือการผลักดันกลับฐานเข้าเมืองผิดกฎหมาย
 
เจ้าหน้าที่ความมั่นคงไทยเล่าว่า ทางการไทยส่งคนไปเฝ้าถามทุกวันว่าจะมีการปล่อยตัวจำเลยเมื่อใด แต่ก็ไม่เคยได้รับคำตอบจากทางการมาเลเซีย
 
“เขาจงใจปกปิด” เจ้าหน้าที่คนเดิมกล่าว
 
ฝ่ายทหารเองก็พยายามที่จะใช้ความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพในการขอให้ส่งตัวกลับมา นายมูฮัมหมัดซิดีและนายมะยูไน ได้ถูกปล่อยตัวที่บริเวณชายแดนในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมาโดยทางการไทยไม่ได้รับทราบ ส่วนนายมามะคอยรี หลังจากศาลได้ยกฟ้องและสั่งปล่อยตัว เจ้าหน้าที่มาเลเซียได้นำไปควบคุมตัวไว้ที่สถานีตำรวจที่ปาเสร์มัส รัฐกลันตัน ปัจจุบันไม่แน่ชัดว่าทั้งสามคนอยู่ที่ใด