วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

ร่อนจม.เปิดผนึกขอคำมั่นฝ่ายรัฐ

ทั้งนี้ การแสดงตัวยืนยันยุติการต่อสู้ของนายแวอาลีคอปเตอร์ กับพวก ครั้งนี้ ได้ทำจดหมายเปิดผนึกในนามกลุ่มปลดปล่อยความขัดแย้งเขตปกครองใหม่มลายู ปัตตานี มีข้อสรุปร่วมกัน คือ 1.เข็มมุ่งทางยุทธศาสตร์การต่อสู้ล้ำหน้ามวลชนและยาวไกลเกินไป 2.การชี้นำแนวทางขององค์กรนำ ไม่สามารถให้คำอธิบายได้ชัดเจนในทางยุทธวิธีเพื่อบรรลุยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบ และ 3.เมื่อ สถานการณ์เปลี่ยนแปลง รัฐกำหนดนโยบายที่สร้างสรรค์มากขึ้น พวกเราจึงต้องกำหนดแนวทางใหม่ พร้อมกับขอทราบทิศทางความชัดเจนแนวทางปฏิบัติต่อข้อเรียกร้อง
สำหรับประเด็นข้อเรียกร้อง คือ 1.รัฐมีมาตรการดำเนินการต่อผู้ที่ยุติบทบาทการใช้ความรุนแรงอย่างไร โดยเฉพาะผู้ที่มีหมายจับ 2.รัฐจะจัดการความขัดแย้งให้เป็นรูปธรรมอย่างไรเพื่อให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพในพื้นที่ และ 3.รัฐมีหลักประกันเช่นไรในการกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตประชาชนใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ เราคาดหวังคำตอบที่เป็นรูปธรรม ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญที่จะสร้างสังคมให้มีความสันติสุขยุติความรุนแรงโดยสิ้น เชิง แม้มีบางกลุ่มยังเคลื่อนไหวด้วยวิธีรุนแรง แต่ที่สุดก็จะเป็นส่วนน้อยในทรรศนะของมวลชนส่วนใหญ่
โร่เช็คหมายจับก่อนให้ประกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเข้ามอบตัวครั้งนี้เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงมีการเช็คประวัติเป็นราย บุคคล หากมีหมายจับก็จะนำสู่กระบวนการสอบสวน และอนุญาตให้ประกันตัวสู้คดี ถ้าไม่มีหมายจับและตกเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีความมั่นคงก็จะนำเข้าอบรมเพื่อ สลายพฤติกรรม พร้อมทั้งหาอาชีพให้ทำเพื่อจะได้อยู่กับครอบครัวต่อไป
ชี้ดูแลดีมีหัวโจก 2 รายรอมอบตัว
รายงานข่าวแจ้งว่า หากรัฐบาลดูแลและให้ความเป็นธรรมต่อนายแวอาลีคอปเตอร์ และพวก อย่างดี อีกไม่นาน นายสะแปอิง บาซอ และนายมะแซ อุเซ็ง แกนนำคนสำคัญที่เคลื่อนไหวอยู่ก็จะประสานออกมาแสดงตัวยืนยันยุติการต่อสู้ กับรัฐ ซึ่งมีแนวโน้มความเป็นไปได้สูง แต่คงขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลและกองทัพ ที่ต้องกำหนดกรอบให้ชัดเจนเรื่องคดีความ
นอกจากนี้ แหล่งข่าวจากหน่วยงานด้านความมั่นคง เปิดเผยว่า การขอเจรจากับรัฐบาลเรื่องความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของนายคัสตูรี มะโกตา หัวหน้ากลุ่มพูโล ซึ่งตั้งสำนักงานอยู่ที่ประเทศสวีเดน ได้มีการประสานตรงไปยังนายกรัฐมนตรี ครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 4 กันยายน ที่ผ่านมา แต่เรื่องดังกล่าวเงียบหายไปจึงเป็นข้อกังขาอย่างหนึ่งที่ทำให้แนวร่วมผู้ ก่อความไม่สงบยังไม่กล้าออกมามอบตัว และยังคงทำให้ภาคใต้มีสถานการณ์ความรุนแรงเรื่อยมาถึงทุกวันนี้
แม่ทัพ 4 เผยเป็นจุดเริ่มที่ดี แต่ต้องเข้าสู่กระบวนการทางกฏหมาย
ขณะที่แม่ทัพภาคที่ 4 ได้กล่าวกับผู้ที่แสดงตนทั้ง 93 คนว่า ทุกคนที่มาในวันนี้เพื่อแสดงจุดยืนในอุดมการณ์การต่อสู้เชิงสันติ และเป็นไปตามนโยบายสานใจสู่สันติของกองทัพภาคที่ 4 เจ้า หน้าที่ทุกฝ่ายยอมรับในความแตกต่าง แต่ยอมรับไม่ได้ในการใช้ความรุนแรงเข้าต่อสู้ ในส่วนของผู้ที่มีหมาย พรก.เมื่อเข้ามาแสดงตัวกับเจ้าหน้าที่ ถือว่า พรก.ยุติและจะได้รับการคุ้มครองจากรัฐ ส่วน ป.วิอาญาก็จะต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมายที่เอื้อต่อผู้ที่หลงผิดที่กลับใจ อย่างไรก็ตาม นโยบายของทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ได้กำหนดกรอบไว้อย่างชัดเจนเพื่อให้มีการต่อสู้เชิงสันติ ทั้งการสร้างความเข้าใจรวมทั้งการเปิดพื้นที่เพื่อให้มีการพูดคุยของผู้หลง ผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อปรับแนวทางเข้าหันให้มากที่สุด แต่ย้ำว่าทุกคนมีทางออก ไม่มีใครแพ้หรือชนะ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่แสดงตนในครั้งนี้ทั้งหมดอยู่ระหว่างขั้นตอนกระบวนการทางกฎหมายในการ ต่อสู้คดีในชั้นศาลต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น